เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์ที่มีจิตใจเมตตา ต่อชาวโลกตามหลักของ พระพุทธศาสนานิกายมหายาน

เจ้าแม่กวนอิม วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับ พระโพธิสัตว์ ที่มีจิตใจเมตตาต่อชาวโลก

เจ้าแม่กวนอิม มีประวัติและตำนานเกี่ยวข้องกับ ประชาชนเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบหลักฐานทางวรรณกรรม และประติมากรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว ความเป็นมาหลายตำนาน “เจ้าแม่กวนอิม” เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีจิตใจเมตตา

ต่อชาวโลกตามหลักของ พระพุทธศาสนานิกายมหายาน เชื่อว่าตำนานประวัติของเจ้าแม่กวนอิม เกี่ยวข้องกับความทุกข์ยากของคนสมัยก่อน ที่พบเจอกับภาวะภัยสงครามอย่างยาวนาน การนับถือพระโพธิสัตว์ต่างๆ จึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

ยามเผชิญทุกข์ยาก ประวัติความเป็นมาของเจ้าแม่กวนอิม ชัดเจนขึ้นในยุคที่ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ได้รับความนิยมในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียตะวันออก ควบคู่กับการแพร่หลายของลัทธิขงจื๊อและเต๋า ในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยพบรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมในลักษณะต่างๆ เช่น รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมพันมือ รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมในชุดขาว ดูซีรี่ย์

เจ้าแม่กวนอิม

มาดูถึงตำนานประวัติ เจ้าแม่กวนอิม ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง มาดูพร้อมๆกันเลย 

พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) เดิมเป็นเทพธิดาซึ่งต้องการช่วยปลดเปลื้อง ทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ในชาติสุดท้าย จึงจุติลงมายังโลกมนุษย์ นาม เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน เป็นพระราชธิดาองค์เล็กของกษัตริย์ แห่งอาณาจักรซิงหลิง

พระนามว่า พระเจ้าเมี่ยวจวง กับพระนางเซี่ยวหลิน (พระนางเป๋าเต๋อ) มีพระพี่นาง 2 พระองค์ คือ เจ้าหญิงเมี่ยวอิม และเจ้าหญิงเมี่ยวหยวน ในเยาว์วัย เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ทรงเป็นพุทธมามกะ รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่จะบำเพ็ญภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ ทรงออกบวชวันที่ 19 เดือน 9 พระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วย จึงบังคับให้เลือกราชบุตรเขย

เพื่อจะได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ อันจอมปลอม แม้จะถูกพระบิดาดุด่าอย่างไร พระองค์ก็ไม่เคยนึกโกรธเคืองแต่อย่างใด ต่อมาเจ้าหญิงเมี่ยวซาน ได้ถูกขับไปทำงานหนักในสวนดอกไม้

เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้ ทั้งนี้เพื่อทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจ แต่ก็มีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทั้งหมด เมื่อพระเจ้าเมี่ยวจวงเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำเจ้าหญิงเมี่ยวซาน ไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว และให้เอางานของแม่ชีทั้งวัด มอบให้เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านทำพระองค์เดียว แต่พระองค์มีพระทัยเด็ดเดี่ยว ไม่เกี่ยงงานการต่างๆ

ก็มีเหล่าเทพารักษ์มาช่วยทำแทนให้อีก พระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า พวกแม่ชีไม่กล้าเคี่ยวเข็ญใช้งานหนัก ก็ยิ่งทรงกริ้วหนักขึ้น สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาว จนวอดเป็นจุณไปพร้อมกับพวกแม่ชีทั้งวัด มีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเท่านั้น ที่ปลอดภัยรอดชีวิตมาได้

พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงทราบดังนั้น จึงรับสั่งให้นำตัวเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไปประหารชีวิต เทพารักษ์ คอยคุ้มครองเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านอยู่ โดยเนรมิตทองทิพย์เป็นเกราะห่อหุ้มตัว คมดาบของนายทหารจึงไม่อาจ ระคายพระวรกาย ดาบหักถึง 3 ครั้ง 3 ครา พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงกริ้วยิ่งนัก โดยเข้าพระทัยว่านายทหาร ไม่กล้าประหารจริงจึงให้ประหาร นายทหารแทน

แล้วรับสั่งให้จับเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ไปแขวนคอทว่าผ้าแพรที่แขวนคอ ก็ขาดสะบั้นลงอีก ทันใดนั้น ปรากฏมีเสือเทวดาตัวหนึ่ง ได้นำเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านขึ้นพาดหลัง แล้วเผ่นหนีไปที่เขาเซียงซัน

ต่อมา เทพไท่ไป๋ได้แปลงร่างเป็นชายชรา มาโปรดเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ชี้แนะเคล็ดวิธีการบำเพ็ญเพียรเครื่องดับทุกข์ จนสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จธรรม วันที่ 19 เดือน 6 ข้างฝ่ายพระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านถูกเสือคาบไปกินเสียแล้ว จึงไม่ได้ติดใจตามราวีอีก ต่อมาไม่นานบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ส่งผล เกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มียารักษาให้หายได้

เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทรงทราบด้วยญาณวิถีว่า พระเจ้าเมี่ยวจวง กำลังประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ มิได้ถือโทษโกรธการกระทำ พระบิดาแม้แต่น้อย ทรงได้สละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้าย

ว่ากันว่าภายหลังสำเร็จอรหันต์ ได้ดวงตาและพระกรคืน เคยแสดงปาฏิหาริย์เป็นปางกวนอิมพันมือ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านนั้น ตอนแรกเป็นชาวพุทธ ตอนหลังเทพไท่ไป๋ได้มาโปรด ชี้แนะหนทางดับทุกข์ เหตุนี้พระโพธิสัตว์กวนอิม จึงเป็นเทพทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋า ในเวลาเดียวกัน 

เจ้าแม่กวนอิม

เจ้าแม่กวนอิมและความเชื่อ ที่เกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์กวนอิม มีหลากหลายความเชื่อด้วยกัน

ชาวจีนเชื่อว่า พระโพธฺสัตว์กวนอิม ยังมีบทบาทในวรรณกรรมเรื่อง ไซอิ๋ว โดยเริ่มแรกทีเดียวซุนหงอคงไม่เชื่อฟังพระถังซำจั๋ง พระแม่กวนอิม จึงประทานเชือกประหลาด และมาบอกพระถังซำจั๋งว่า จงรับรัดเกล้านี้ไปถ้าหากสวมไปแล้ว แล้วพูดว่า รัดเกล้า รอบเดียวก็จะปวดหัวเหมือนมีสิ่งใดมัดศีรษะ

ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งคือ ท่านสถิตย์ ณ เกาะผู่ถัวซาน และปฏิบัติธรรม ณ ที่นั่น (ปัจจุบันมีเทวรูปองค์ใหญ่ เป็นพระแม่กวนอิมปางทรงธรรมจักร ในพระหัตถ์ซ้าย ส่วนพระหัตถ์ขวาทำพระกิริยาห้าม มองไปที่ทะเลใต้ เรียกว่า หนานไห่กฺวันยิน (หล่ำไฮ้กวงอิม ตามสำเนียงแต้จิ๋ว)

รูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิม มักมีเด็กชายและเด็กหญิง หรือสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาอยู่เคียงข้างเสมอ โดยถูกเรียกทับศัทพ์เป็นคำจีนว่า กิมท้ง คือเด็กชายผู้ที่ทุบศีรษะเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน จนดวงปราณละสังหารได้นั้นเอง

และ เง็กนึ้ง คือสาวใช้ผู้ปวารณาเป็นข้ารับใช้ พระองค์ขณะเป็นภิกษุณี บางตำนานว่ากิมท้ง คือ บุตรชายคนรองแห่งเทพถือเจดีย์ (บิดาแห่งนาจา) นามว่า “ซ่านไฉ่” ซึ่งถวายตัวเป็นพุทธสาวก แห่งพระโพธิสัตว์กวนอิม

และส่วนเง้กนึ้งบางตำนานกล่าวว่า คือ ธิดาพญามังกร นามว่า หลงหนี่ ซึ่งเป็นพระธิดาแห่งเจ้าสมุทรผัวเจี๋ยหลัว ปวารณาตนเป็นสาวกของพระโพธิสัตว์กวนอิม แต่บางตำนานว่า ซ่านไฉ่ กับ หลงหนี่เป็นพระโพธิสัตว์ โดยมีเทวตำนานดังนี้ ตอนที่เจ้าหญิงหลงหนี่อายุได้ 8 พรรษา

ได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจา กะระมัญซุศรีโพธิสัตว์ บังเกิดเห็นดวงตาเห็นธรรม จึงเสด็จขึ้นจากวังบาดาล ยังชมพูทวีปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และถวายตัวเป็นสาวก และต่อมาไม่นานสำเร็จมรรคผลเป็น พระโพธิสัตว์ 

ส่วนซ่านไฉ่นั้นเป็นบุตร 1 ใน 500 คนแห่งผู้เฒ่าฝูเฉิง เกิดเห็นว่าทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งไม่เที่ยง มาแต่ไหนแต่ไรด้วยเหตุนี้จึงสนใจศึกษาพระธรรม โดยได้รับคำชี้แนะจากพระมัญซุศรีโพธิสัตว์ และได้รับการสั่งสอนจากภิกษุ ถึง 53 รูป ผ่านอุปสรรคต่างๆจนบรรลุสู่การเป็นพระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคบุรุษเพศ

สำหรับรูปประติมากรรมพระแม่กวนอิม ในลักษณะของเพศหญิงที่เป็นที่นับถือ กันในปัจจุบันนั้นแท้จริงแล้ว เมื่อครั้งศาสนาพุทธแรกเผยแผ่ จากอินเดียสู่จีนนั้น รูปลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์กวนอิม) ก็เป็นภาพของพระโพธิสัตว์เพศชาย

เช่นเดียวกับในอินเดีย สันนิษฐานว่า คติเกี่ยวกับรูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิม น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสามก๊กและราชวงค์จิ้น จนกระทั่งถึงสมัยหนานเป่ยเฉา หลักฐานสำคัญก็คือ รูปวาดจิตรกรรมฝาผนัง และรูปปฏิมากรรมแกะสลักพระโพธิสัตว์กวนอิม

ที่ปรากฏอยู่ในถ้ำม่อเกา (โม่เกา ตามภาษาจีนกลาง) ที่สร้างขึ้นในช่วงหนานเป่ยเฉานั้น เป็นภาพของพระอวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์กวนอิม) ที่มีลักษณะแบบเพศชาย มีริมฝีปากหนาและมีหนวดเครา ส่วนเหตุผลของความเปลี่ยนแปลง จากบุคลิกลักษณะของพระอวโลกิเตศวร ที่เดิมเป็นเพศชายจนแปรเปลี่ยนเป็นเพศหญิงนั้น นักประติมานวิทยา สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเหตุผล 2 ประการ

ประการแรก นั้นคือ พระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นผู้ทรงโปรดสัตว์โลก ผู้ตกทุกข์ได้ยาก และในสมัยโบราณนั้น ผู้หญิงมักได้รับการกดขี่ข่มเหง และทุกข์ทรมานมากกว่าเพศชาย จึงเกิดภาพลักษณ์ในด้านที่เป็นเพศหญิง เพื่อช่วยเหลือสตรีให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม

ประการที่สอง นั้นคือ ผู้หญิงเป็นเพศที่มีความอ่อนโยน และมีจิตใจที่ดีงามกว่าเพศชาย โดยเฉพาะความรักของผู้เป็นมารดา อันเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาการุณย์ต่อบุตร พระแม่อุมาเทวี

เจ้าแม่กวนอิมในประเทศไทยมี ศาลเจ้าที่ประดิษฐานรูปเคารพ

ในประเทศไทยมีศาลเจ้า ที่ประดิษฐานรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิม อันเป็นความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีน อยู่หลายแห่งยกตัวอย่างศาลเจ้าแม่กวนอิม ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่

ศาลเจ้ากวนอิมเนี้ย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

ศาลเจ้าแม่กวนอิม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

วิหารเจ้าแม่กวนอิม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ศาลเจ้าแม่กวนอิม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

ศาลเจ้าแม่กวนอิม เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

พระโพธิสัตว์กวนอิม อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

วิหารพระแม่กวนอิม อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี

เจ้าแม่กวนอิมองค์ยืน อ.สามพราน จ.นครปฐม

ศาลเจ้าแม่กวนอิม เขตบางกอกน้อย จ.นครปฐม

ศาลเจ้าแม่กวนอิม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

มูลนิธิพระมหามงคลพุทธนิมิตอวโลกิเตศวร อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา