วันออกพรรษา วันนี้จะพามาทำความรู้จัก วันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ แบบไทย-ลาว
วันออกพรรษา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธแบบไทย-ลาว โดยเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรม คือ การปวารณาในวันนี้ วันออกพรรษา (ออกปุริมพรรษา)
จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย การปวารณา ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัย สำหรับพระภิกษุโดยเฉพาะ เรียกว่า เป็นญัตติกรรมวาจา (สังฆกรรม) ประเภทหนึ่ง ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาส (3 เดือน)
สามารถว่ากล่าวตักเตือน และชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกัน ได้โดยเสมอภาค เป็นวันที่พระพรรษาน้อยกว่า สามารถตักเตือนพระที่มีพรรษามากกว่าได้ ด้วยจิตที่ปรารถนาดี ซึ่งกันและกันเพื่อให้พระสงฆ์ ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ ข้อบกพร่องของตน และนำข้อบกพร่องมาแก้ไข ปรุงตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกัน ถ้าเป็นเรื่องเข้าใจผิด ก็จะได้ชี้แจงแก้ไข หรือปรับความเข้าใจกัน เพราะสิ่งที่เห็น ที่ได้ยิน ที่สงสัย อาจมีเรื่องราวซ่อนอยู่ หรืออาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เข้าใจ รวมถึงเปิดโอกาสให้ขอโทษ ที่รู้ตัวว่าสร้างเดือดร้อนให้แก่หมู่คณะ และขออภัยที่เข้าใจผิด และเปิดโอกาสให้ซักถาม ข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ เพื่อ ปรับความเข้าใจกัน โหลดเกมส์
มาดูถึงประวัติ วันออกพรรษา ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? มาดูไปพร้อมๆกันเลย
เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดี ที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศล แก่ตนเองที่ตั้งใจปฏิบัติตน เป็นอุบาสก-อุบาสิกา ส่วนพระสงฆ์จำพรรษาและตั้งใจศึกษา ปฏิบัติธรรมมาตลอดจน ครบไตรมาส (3 เดือน) หรือในวันถัดไปคือ วันออกพรรษา(จริง) (คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)
พุทธศาสนิกชนในประเทศไทย นิยมไปทำบุญตักบาตร เรียกว่า บุญเทศกาลบาตรเทโว หรือ บาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ ในพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก ลงมายังโลกมนุษย์หลังจาก การโปรดเทพบุตร อดีตพระพุทธมารดา พระนางสิริมหามายา บนสวรรค์ดาวดึงส์ (ชั้นที่ 2) ในพรรษาที่ 7 เสด็จลงมายังเมืองสังกัสสะ
พร้อมกับทรงแสดง ไตรโลกวิวรณปาฏิหาริย์ (ทรงปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้ง 3. สวรรค์,นรก,โลก) กฐินกาล คือ ช่วงเวลาที่ทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ เริ่มตั้งแต่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง)
เป็นช่วงเวลากฐินกาล ตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ในช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย จะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศล เนื่องในงานกฐินประจำปี เป็นการนำผ้าจีวร ถวายพระพุทธรูป และพระสงฆ์ในวัดต่างๆ โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศล ที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษา เป็นเวลา 3 เดือน (นับตั้งแต่วันเข้าพรรษา)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้” ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์ จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุ ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา
พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่อง ที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถาม ข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย เมื่อพระสงฆ์จำพรรษา ครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษา และได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ คือ เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา (ออกจากวัดไปโดยไม่จำเป็น ต้องแจ้งเจ้าอาวาส หรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้)
เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวร ครบสำรับ 3 ผืน ฉันคณะโภชน์ได้ (โภชนะที่คณะรับนิมนต์ไว้) เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์บางข้อ) จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่า ไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดย ไม่ต้องสละเข้ากองกลาง) แทงบอลโลก
ประเพณีท้องถิ่นในวันออกพรรษา ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
เป็นวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงสู่โลกหลังจากเสด็จ ขึ้นไปจำพรรษาอยู่ในดาวดึงส์ ถ้วนไตรมาสและแสดงอภิธรรมเทศนา โปรดพระมารดาในเทวโลกนั้นมาตลอดเวลา 3 เดือน เมื่อถึงวันมหาปวารณา คือวันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา
จึงเสด็จมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จมาทางบันไดสวรรค์ ลงที่ประตูเมืองสังกัสสะ อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี วันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้น เรียกกันว่า “วันเทโวโรหณะ” ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน 11 วันนั้นถือกันว่าเป็นวันบุญกุศล ที่สำคัญวันหนึ่งของพุทธบริษัท
โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ”วันพระเจ้าเปิดโลก” วันรุ่งขึ้นจากวันนั้นเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จึงมีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ กันเป็นการใหญ่ เพื่อเฉลิมฉลอง การเสด็จลงจากเทวโลก ของพระพุทธเจ้าโดยพุทธบริษัท ได้พร้อมใจกันใส่บาตรแด่พระสงฆ์
ที่อยู่ทั้งหมดในที่นั้น กับทั้งพระพุทธองค์ด้วย โดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน ภัตตาหารที่ถวายในวันนั้น ส่วนใหญ่เป็นเสบียงกรัง ของตนตามมีตามได้ ปรากฏได้มีการใส่บาตร ในวันนั้นแออัดมาก ผู้คนเข้าไม่ถึงพระสงฆ์ จึงเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง
ทำเป็นปั้นๆ บ้างแล้วโยนเข้าถวายพระ นี่เองจึงเป็นเหตุหนึ่งที่นิยม ทำข้าวต้มลูกโยน เป็นส่วนสำคัญของ การตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นประเพณีว่าถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 (บางแห่งก็ทำในขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ทุกๆปี ควรทำบุญตักบาตรให้เหมือน ครั้งดั้งเดิมเรียกว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ จนทุกวันนี้
ประเพณีถวายผ้ากฐินทาน
เป็นประเพณีที่สำคัญ ของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ไปจนถึงกลางเดือน 12 (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 – วันลอยกระทง) คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ
ในสมัยโบราณ เย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้า ให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บ เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญ เหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณ จะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่ จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน
ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่น ตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดา ก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่นๆ
ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกา ก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำ หลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว) พญายมราช
วันออกพรรษาประเพณีจุดประทีป
เป็นประเพณีที่จุดเทียน หรือไต้น้ำมัน โดยจะจุดในคืนวันออกพรรษา เป็นรูปต่างๆที่มองจากบนฟ้า จะเห็นเป็นรูปหรือข้อความต่างๆ ซึ่งจะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น ธรรมจักร ดอกบัว ใบโพธิ์ เป็นต้น เชื่อกันว่าเป็นการจุดไฟ ถวายเพื่อให้พระพุทธเจ้า ทรงทอดพระเนตรเห็นจากสวรรค์
โดยจำลองเหตุการณ์ เหมือนเมื่อครั้งพระพุทธองค์ ทรงเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากทรงโปรดพุทธมารดา โดยที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมา ในวันออกพรรษา และจะเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ ถึงในเวลาเช้าโดยมีประชาชน มารับเสด็จต่างพากันมา ใส่บาตรพระพุทธเจ้า
ดังนั้นจึงถือกันว่าในช่วงเวลา กลางคืนพระองค์จะยังทรงเสด็จอยู่ ระหว่างสวรรค์และโลกมนุษย์ จึงต่างพากันจุดประทีปเพื่อรับเสด็จ โดยประเพณีชาวไทใหญ่ที่แม่ฮ่องสอน จะมีการจัดขบวนแห่เทียน หลู่เตียนเหง(เทียนพันเล่ม) ประเพณีแห่จองพารา (ปราสาทพระพุทธเจ้า)
เพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้า โดยชาวไทใหญ่จะเรียกประเพณีนี้ว่า ปอยออกหว่า หรือ ปอยเหลินสิบเอ็ด,วัดพระธาตุดอยเว้า อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จะมีประเพณีปอยต้นแป๊ก(ต้นเกี้ยะ), ส่วนทางภาคอีสาน จะมีประเพณีจุดไต้น้ำมัน เป็นเวลา3วัน ในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 เรียกว่าการไต้น้ำมันน้อย
ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ,เรียกว่าการไต้น้ำมันใหญ่ ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 เรียกว่าการไต้น้ำมันล้างหางประทีป,ประเพณีจุดไฟตูมกา ในจังหวัดยโสธร, ประเพณีจุดประทีป ตีนกาจังหวัดกาญจนบุรี, และหลายพื้นที่ที่ติดแม่น้ำ เช่น จังหวัดหนองคายและนครพนม ก็จะมีประเพณีไหลเรือไฟ และลอยกระทงสาย หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ไข่พญานาค ในคืนวันออกพรรษา