วัดภูมินทร์ วันนี้จะพามารู้จักกับ วัดสำคัญของจังหวัดน่าน และชมภาพวาดแห่งประวัติศาสตร์ ของ ปู่ม่านย่าม่าน
วัดภูมินทร์ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดน่าน เป็นวัดสำคัญและสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน วัดมีลักษณะที่สำคัญคือ โบสถ์และวิหารถูกสร้างเป็นอาคารเดียวกัน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2139 โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์
เดิมชื่อ วัดพรหมมินทร์ ซึ่งเป็นพระนามของเจ้าเจตบุตรฯ ผู้สร้างวัด สันนิษฐานว่าในภายหลัง ได้เรียกชื่อกันเพี้ยนมาเป็นชื่อ วัดภูมินทร์ ในปัจจุบันภาพของวัดเคยปรากฏ บนธนบัตรไทยรุ่นที่ 2 ราคา 1 บาท วัดภูมินทร์ ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410
ใช้ระยะเวลารวมเกือบ 7 ปี ซึ่งสันนิษฐานว่าในการบูรณะครั้งนี้ ได้ทรงมีรับสั่งให้วาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง (คำเมือง: ฮูบแต้ม) ภายในพระอุโบสถจตุรมุข ซึ่งรวมทั้งภาพ ที่มีชื่อเสียงเช่น ปู่ม่านย่าม่าน หรือ กระซิบรักบันลือโลกของ หนานบัวผัน ดูบอลออนไลน์
มาดูถึงประวัติของ วัดภูมินทร์ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? ไปดูพร้อมๆกันเลย
วัดภูมินทร์ หรือเดิมชื่อว่า วัดพรหมมินทร์ ซึ่งเป็นพระนามของ เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ซึ่งสันนิฐานว่าในภายหลัง ถูกเรียกชื่อต่อกันมาจึงเพี้ยน และกลายมาเป็นวัดภูมินทร์ อย่างในปัจจุบัน วัดภูมินทร์เป็นวัดหลวง ที่มีความสำคัญและเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน
โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2139 หลังจากที่พระองค์ ขึ้นครองนครน่านได้ 6 ปี วัดภูมินทร์นั้นเป็นวัด ที่มีความเก่าแก่ที่อยู่คู่จังหวัดน่าน มาเป็นเวลานานมีที่ตั้งอยู่ใกล้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เมื่อมองดูภาพกว้างของวัด
จะมีลักษณะแปลกตาไปกว่าวัดอื่นๆ มีจุดเด่นคือ พระอุโบสถจตุรมุข ที่มีสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น ด้วยความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างการนำเอาโบสถ์ วิหารและเจดีย์ มารวมไว้ในอาคารเดียวกัน โดยมีรูปแบบการสร้างในลักษณะ แผนภูมิจักรวาล
ตามความเชื่อในทางพุทธศาสนา ซึ่งที่วัดแห่งนี้จะมีองค์พระประธาน ที่มีลักษณะโดดเด่นไม่เหมือนใคร ในประเทศไทยนั่นคือ พระประธานจตุรทิศ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย ลงรักปิดทองจำนวน 4 องค์ ประทับนั่งแบบพระปฤษฎางค์ ลงบนฐานชุกชีเดียวกัน
โดยพระประธานทั้ง 4 องค์ จะหันหลังชนกัน และหันหน้าออกไปทางประตู แต่ละทิศสันนิษฐานว่า สร้างตามคติความเชื่อที่ว่า เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงพระพุทธเจ้า ที่เสด็จมาแล้วนั่นคือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมน์ พระกัสสป และพระโคตมะ ที่ได้มาประกาศพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว
ซึ่งก็มีคติความเชื่อกันอีกว่า พระประธานที่สร้างเป็น พระพุทธรูป 4 องค์ บนฐานเดียวกันนั้น แสดงถึงพรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ตามหลักศาสนาพุทธอีกด้วย มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า หากใครที่จะไปขอพรกับ พระจตุรทิศ
ให้พยายามสังเกตุหน้าองค์พระ ที่มีใบหน้าแย้มพระโอษฐ์ หากพบเจอให้กราบขอพร องค์พระในทิศนั้น แล้วจะสมปรารถนาในสิ่งที่หวัง ภายนอกอาคารมีนาคสะดุ้งขนาดใหญ่ แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว โดยเปรียบเสมือนการ อุ้มชูพระพุทธศาสนา ให้ยังคงอยู่สืบต่อไป
ตามปกติวัดทั่วไปนาคราวบันได โบสถ์วิหารจะมีเฉพาะส่วนหัว เลื้อยโผล่ออกมา แต่นาค 2 ตัวนี้ ช่างโบราณสร้างให้มีทั้งส่วนหัว และหางเหมือนเลื้อยทะลุออกมาจากวิหาร นาคคู่นี้มีลักษณะหน้าตาที่ใจดี ส่วนร่างนั้นอวบอ้วน ทำให้ดูมีชีวิตชีวาประหนึ่งว่า กำลังเลื้อยจริงๆ บาคาร่าขั้นต่ำ10บาท
จิตกรรมภาพวัดภูมินทร์ ปู่ม่านย่าม่าน
ภาพกระซิบรักบรรลือโลก หรือที่รู้จักกันในชื่อ ปู่ม่านย่าม่าน เป็นหนึ่งในภาพวาดที่มีชื่อเสียง ของด้านจิตรกรรมฝาผนัง โดยได้รับการยกย่องว่า เป็นภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด ในด้านขององค์ประกอบ และอารมณ์
ภาพปู่ม่านย่าม่านนั้น ถูกวาดโดย หนานบัวผัน ศิลปินชาวไทลื้อ ที่เคยสร้างผลงานจิตรกรรม ไว้ที่วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เมื่อได้เปรียบเทียบภาพจิตรกรรม ทั้งสองภาพพบว่าภาพจิตรกรรม ทั้งสองภาพมีความเหมือนกัน ทั้งลายเส้น สีสัน ใบหน้า และฉากมากกว่า 40 จุด
อีกทั้งยังมีมุมมอง และแนวคิดในรูปแบบที่ทันสมัย มีการใช้สีสันในภาพมากมาย อาทิ สีแดง ฟ้า ดำ น้ำตาลเข้ม และมีวิธีลงฝีแปรงที่คล้ายกับ ภาพวาดสมัยใหม่ ภาพดังกล่าว เป็นภาพที่แปลกไปจากภาพอื่นๆ ซึ่งภาพดังกล่าวนั้นเป็น ภาพผู้ชายชาวพม่านำมือ มาเกาะที่ไหล่ของผู้หญิงชาวพม่า
และแสดงท่าทาง กระซิบกระซาบที่หู ทำนองหยอกล้อ บอกรักต่อกัน มีนัยตากรุ้มกริ่ม แสดงให้เห็นถึงความรักใคร่ ที่ฝ่ายชายนั้นมีให้ต่อฝ่ายหญิง ซึ่งออกไปในแนวที่น่ารักงดงาม ไม่ได้มีการแสดงออกไป ในทางชู้สาว ลามก หรือไปในทางกามารมณ์
ถ้าหากใครก็ตามหรือคู่รักใด ก็ตามหากได้ไปยืนอยู่หน้าภาพวาด “ปู่ม่านย่าม่าน” จะสัมผัสได้ถึงความรักที่แผ่ออกมา จากภาพจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้ อย่างน่าประหลาดใจ เลยทีเดียว วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
ความเชื่อเรื่องปู่ม่านย่าม่าน
ขอเกริ่นก่อนเลยว่าคำว่า “ปู่ม่านย่าม่าน” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงคน ในภาพวาดที่อยู่มานานจนกลายเป็น ปู่หรือเป็นย่า แต่ในความจริงแล้ว คำว่าปู่ม่านหรือย่าม่านในที่นี้นั้นหมายถึง ผู้ชายและผู้หญิงชาวพม่า ที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ผู้ชายจะถูกเรียกว่า “ปู่” ส่วนผู้หญิงจะถูกเรียกว่า “ย่า”
ซึ่งที่จริงออกเสียง “ง่า” และคำว่า “ม่าน” นั้นก็หมายความถึง “พม่า” ซึ่งเป็นคำเรียกของคนไทย เมื่อในครั้งสมัยก่อนที่ใช้เรียก แทนชาวพม่า หากคู่รักคู่ใดได้มาบอกรัก และขอพรต่อหน้าภาพวาดของ “ปู่ม่านย่าม่าน” จะสมหวังในเรื่อง ความรักที่ยืนยงยาวนาน ความมั่นคงในชีวิตรัก และชีวิตสมรสอีกด้วย
มีคนตั้งข้อสงสัยว่า ภาพปู่ม่านจากภาพกระซิบรัก ซึ่งเป็นผู้ชายชาวพม่า อาจจะเป็นภาพของตัว “หนานบัวผัน” ศิลปินผู้วาดภาพนั้นเอง แต่ได้รับการปฏิเสธจากผู้เชี่ยวชาญว่า ตัวหนานบัวผันนั้นเป็นชาวไทลื้อ ไตลื้อ ไม่ใช่ชาวพม่า
แต่ก็ยังมีผู้ที่เชื่ออยู่ว่ารูปของ “ปู่ม่านย่าม่าน” นั้นอาจจะเป็นภาพที่แสดงถึง ความในใจของหนานบัวผัน ที่ต้องการสื่อถึงคนรักของเขานั่นเอง แต่ก่อนที่จะไปเริ่มขอพร ในด้านความรักกัน คู่รักที่มาขอพรจะต้องไป ลอดซุ้มพญานาคคู่ขวัญ
ที่อยู่บริเวณด้านหน้าของ พระอุโบสถเสียก่อน โดยคู่รักจะต้องลอดเดินวนแบบ ทวนเข็มนาฬิกาเป็นจำนวน 3 รอบด้วยกัน แล้วจึงค่อยมาขอพรจาก “ปู่ม่านย่าม่าน” เพื่อให้ความรักของทั้งคู่ นั้นยาวนานและยั่งยืนนั่นเอง
จิตกรรมฝาผนังหรือฮูบแต้ม
ประมาณ 300 ปี วัดภูมินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ครั้งใหญ่ในสมัย เจ้าอนันตวรฤทธิ์เดช เมื่อปีพ.ศ.2410 หรือช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนันตวรฤทธิ์เดช มีความเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก
จึงทรงโปรดให้ช่างหลวง บูรณะวัดเป็นครั้งใหญ่ โดยมีการบูรณะวัดจำนวน 22 วัด และวัดภูมินทร์ ก็ได้รับการบูรณะเป็นอันดับที่ 9 โดยใช้เวลาบูรณะอยู่ราว 8 ปี ช่วงปีพ.ศ. 2410 – 2418 ซึ่งกรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่า การบูรณะวัดครั้งนี้ เป็นที่มาของภาพจิตรกรรม ฝาผนังภายในวิหารวัดภูมินทร์นั่นเอง