วัดพระศรีมหาอุมาเทวี วันนี้จะพามารู้จักกับ วัดแขกสีลม ไหว้สักการะขอพร พระแม่อุมาเทวี เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และความรัก
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี วัดฮินดูในไทยที่ตั้งอยู่ย่านสีลม จนกลายเป็นชื่อเรียกกันติดปากว่า วัดแขกสีลม เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่คนไทยนับถือใน องค์เทพฮินดูนิยมไปกราบไหว้ สักการะและขอพรเสริมดวงให้กับตนเอง
โดยที่วัดแห่งนี้ขึ้นชื่อมากในเรื่อง ของการมาขอพรเรื่องความรัก นอกจากนี้ยังขอในเรื่องของการงาน การเงิน และสุขภาพได้อีกด้วย วันนี้เรามีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัดแขก สีลม มาฝากสายมูทั้งหลาย
รวมถึงงานใหญ่ประจำปี พิธีนวราตรี วัดแขกสีลม เป็นโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ถวายการบูชา พระแม่มริอัมมัน
เจ้าแม่พื้นเมืองท้องถิ่น ในอินเดียภาคใต้ ซึ่งถูกการผสานความเชื่อ และอธิบายใหม่ว่าเป็นอวตารของ พระแม่อุมาเทวี พระชายาของพระศิวะ ตามคติพหุเทวนิยมในศาสนาฮินดู เป็นเทพประธานของวัดแห่งนี้ ดูหนังออนไลน์
มาดูถึงประวัติของ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? มาดูไปพร้อมๆกันเลย
เทวสถานนี้มีหลักฐาน ปรากฏมาตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราว พ.ศ. 2453-2454 โดยคณะผู้ศรัทธาชาวทมิฬ ผู้อาศัยอยู่ย่านตำบลริมคลองสีลม และตำบลหัวลำโพง อำเภอบางรัก
เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนดินแดน ย่านแหลมมลายูรวมทั้งทางภาคใต้ ของประเทศไทย เมื่อนายไวตี พ่อค้าวัว และญาติมิตรชาวฮินดู ที่ตั้งบ้านเรือนและประกอบอาชีพ อยู่ย่านตำบลหัวลำโพง อำเภอบางรัก และตำบลริมคลองสีลม อำเภอบางรัก
มีศรัทธาจัดสร้างวัดเพื่อเป็นที่ บูชาพระอุมาเทวี ตามลัทธิศักติทางศาสนาฮินดู โดยเริ่มต้นตั้งเป็นศาลไม้ ใต้ต้นสะเดาในไร่อ้อย ริมคลองสีลม แถววัดวัวลำพอง หรือหัวลำโพงในปัจจุบันนี้
ต่อมา คณะกรรมการผู้ก่อตั้งวัด อาทิ นายไวตรีประเดียอะจิ (ต้นตระกูลไวตี เจ้าของเดิมที่ดินใน ซ.สีลม 13 หรือ ซ.ไวตี ถนนสีลม ) นายนารายเจติ นายโกบาระตี ได้หาที่ดินเพื่อตั้งสถานที่ถาวร
โดยขอแลกที่ดินของพวกตน กับที่ดินสวนผักริมคลองสีลม ของนางอุปการโกษากร (ปั้น วัชราภัย) มรรคนายิกาวัดสุทธิวราราม ภรรยาหลวงอุปการโกษากร (เวก หรือ เวท วัชราภัย) ปัจจุบันเป็นหัวถนนปั้นด้าน ที่ตัดกับถนนสีลม
โดยนำเทวรูปองค์เทพ และเทวีต่างๆ มาจากประเทศอินเดีย โดยมี พระแม่มารีอัมมัน เป็นองค์ประธานของเทวสถาน รวมทั้งเทวรูปศิลาสลัก พระพิฆเนศ และเทพแห่งความสำเร็จ ผู้ที่ได้รับการประทานพรจาก พระศิวะ เทพบิดร
ให้เป็นเทพผู้ได้รับการเริ่มต้น บูชาก่อนการบูชาเทพ-เทพีองค์อื่นๆ ทุกครั้ง วัดพระศรีมหาอุมาเทวี เป็นเทวสถานในลัทธิศักติ คือนับถือเทวีเป็นหลัก เช่น พระศรีมหาอุมาเทวี พระชายาของพระศิวะ
ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพระผู้ทำลาย ถือได้ว่าเมื่อยามที่พระองค์ เสวยร่างเป็นเจ้าแม่อุมา จะเป็นเจ้าแห่งความเมตตากรุณา และงามสง่า ดังนั้นผู้มีจิตศรัทธา จึงนิยมไปกราบไหว้บูชา และขอพร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความรัก
และเรื่องการขอบุตร วัดพระศรีมหาอุมาเทวี เป็นเทวสถานในลัทธิศักติ คือนับถือเทพีเป็นหลักสำคัญโดยเฉพาะ พระตรีศักติ หรือ 3 เทวี ซึ่งเป็นพระชายาของมหาเทพตรีมูรติ ได้แก่
- พระนางอุมาเทวี ชายาพระศิวะ (ผู้ทำลายโลก-ทำลายความชั่วร้าย) เทพีแห่งความเมตตากรุณา และงามสง่า ดังนั้นผู้มีจิตศรัทธาจึงนิยม ไปกราบไหว้บูชา และขอพรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความรักและเรื่องการขอบุตร ไปจนถึงขอเรื่องความสำเร็จ ในด้านอำนาจ หน้าที่การงาน
- พระนางลักษมี ชายาพระวิษณุ (ผู้ดูแลโลก) เทพีแห่งความมั่งคั่ง ร่ำรวย และความงาม รวมถึงความงามภายใน การบูชาพระลักษมี เพื่อความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จทาง การประกอบกิจการ และการเงิน
- พระนางสรัสวดี ชายาพระพรหม (ผู้สร้างโลก) เทพีแห่งความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด และความรู้ พระองค์คือสัญลักษณ์ แห่งงานศิลปะทุกแขนง ทั้งการวาดเขียน การดนตรี อักษรศาสตร์ การแต่งตำรา การเขียนหนังสือ การบูชาพระสรัสวดี เพื่อความเฉลียวฉลาด ทันคน ความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานต่างๆ บาคาร่าขั้นต่ำ10บาท
สถาปัตยกรรมวัดพระศรีมหาอุมาเทวี และศิลปกรรม
สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ของเทวสถานเป็นลักษณะ ศิลปะประเพณีโบราณ ของอินเดียตอนใต้ เมื่อเข้าไปด้านในเทวสถาน จะพบโบสถ์ตั้งอยู่ตรงกลาง หันหน้าไปด้านถนนปั้น ด้านในสุดของโบสถ์ แบ่งเป็น 3 ซุ้ม ซุ้มใหญ่ตรงกลางมี 2 ล็อก
ล็อกหน้าเป็นทางเดินเข้า ส่วนล็อกด้านในเป็นที่ประดิษฐาน เทวรูปปูนปั้นและเทวรูปหล่อลอย องค์พระแม่มารีอัมมัน ซุ้มด้านซ้ายและขวาของโบสถ์ เป็นที่ประดิษฐาน เทวรูปของพระโอรสทั้ง 2 พระองค์
โดยซุ้มด้านซ้าย (ด้านข้างในเทวสถาน) เป็นซุ้มประดิษฐานเทว รูปศิลาสลักองค์พระพิฆเนศ และซุ้มด้านขวา (ด้านริมถนนสีลม) เป็นซุ้มประดิษฐานเทวรูปสลักศิลา องค์พระขันธกุมาร สำหรับซุ้มในโบสถ์ทั้ง 3 ซุ้มนี้ ไม่อนุญาตให้ผู้ใดเข้าไปข้างใน
ยกเว้นพราหมณ์พิธีผู้มีคุณสมบัติ อันสมควรเท่านั้นด้านลานเทวสถาน ด้านหน้าโบสถ์ มีเสาสีทองขนาดใหญ่ สูงเท่าหลังคาโบสถ์ ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างประตูหน้า ของเทวสถานและช่องกลางโบสถ์ ด้านบนสุดของเสาเป็นโยนี ลึงค์ขนาดใหญ่
ซึ่งจะถูกตกแต่งประดับประดา และชักธงรูปสิงห์ประจำองค์พระแม่ ขึ้นในช่วงสัปดาห์ เทศกาลนวราตรี บนลานหน้าเทวสถานยังมี เทวาลัยขนาดเล็กอีก 3 เทวาลัย เทวาลัยแรกอยู่บริเวณ กลางลานหน้าโบสถ์ด้านขวา (ด้านถนนสีลม)
เป็นเทวาลัยประดิษฐานศิวลึงค์ อันเป็นสัญลักษณ์แทน องค์พระศิวะ อีก 2 เทวาลัยอยู่ที่มุมริมสุดด้านหน้า ของเทวสถานด้านถนนปั้น ตัดกับถนนสีลม เป็นเทวาลัยประดิษฐาน พระพรหม
และเทวาลัยประดิษฐาน เทวรูปเทวดานพเคราะห์ โดยริมรั้วด้านถนนสีลมระหว่าง เทวาลัยพระพรหมและศิวลึงค์ จะมีหอระฆังที่ต้องตีตลอดเวลา ขณะที่พราหมณ์ทำพิธีบูชาเทพเจ้า วัดพระธาตุแช่แห้ง
เทศกาลนวราตรี
ในช่วงวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 11 รวม 9 วัน 9 คืนนั้น เป็นช่วงเวลาของ เทศกาลดูเซร่า หรือนวราตรี ของชาวฮินดู เป็นงานแห่พระแม่อุมาเทวี ประจำปีจัดขึ้นใน วันวิชัยทัสสมิ ซึ่งเป็นวันฉลองชัยชนะของ องค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี (ในภาคพระแม่มหาทุรคา)
ที่ทรงต่อสู้กับ อสูรควาย (มหิงสาสูร) เป็นเวลา 9 วัน 9 คืน จนกระทั่งสามารถเอาชนะ เหนืออสูรร้ายได้ในวันที่ 10 จึงได้มีการจัดงานแห่เพื่อเฉลิมฉลอง และเชื่อกันว่า ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่พระแม่ และขบวนเทพจะเสด็จมายังโลก
เพื่อประทานพรให้กับมนุษย์ด้วย โดยในปี 2565 พิธีนวราตรี จะจัดขึ้นระหว่างที่ 26 กันยายน ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2565 และในวันสุดท้ายของงาน จะมีการอัญเชิญองค์เทวรูป พระแม่อุมาเทวีและเทวรูปองค์อื่นๆ ออกมาแห่บนถนนสีลม โดยเริ่มเคลื่อนขบวนแห่ออกจาก หน้าวัดในเวลา 19.30 น. เป็นต้นไป ซึ่งขบวนแห่ของวัดพระศรีมหาอุมาเทวี มีทั้งหมด 8 ขบวน ได้แก่
- ขบวนคนทรงองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี
- ขบวนคนทรงองค์พระขันธกุมาร
- ขบวนคนทรงองค์พระแม่กาลี
- ขบวนราชรถองค์พระพิฆเนศ
- ขบวนราชรถองค์พระขันธกุมาร
- ขบวนราชรถองค์พระกฤษณะ
- ขบวนราชรถองค์พระกัตตราวรายัน
- ขบวนราชรถคันใหญ่ของ องค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี พระแม่มหาลักษมี และพระแม่มหาสรัสวดี