วัดพระธาตุแช่แห้ง เป็นวัดพระธาตุคู่บ้านคู่เมือง ของชาวน่าน มีอายุกว่า 600 ปี

วัดพระธาตุแช่แห้ง วันนี้จะพามารู้จักกับ พระธาตุประจำปีเถาะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองน่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง ตามความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุ พระจำปีเกิดของชาวล้านนา เชื่อว่าคนเกิดปีเถาะ มีพระธาตุประจำปีเกิด คือ “พระธาตุแช่แห้ง” ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน ซึ่งผู้ที่เกิดปีเถาะ อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ควรหาโอกาสไปกราบนมัสการ พระธาตุแช่แห้งสักครั้ง

เพื่อเป็นการเสริมบุญบารมี ให้เกิดความเป็นสิริมงคลในชีวิต พระธาตุแช่แห้ง ขอพร ตั้งอยู่หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง ประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไป ประมาณ 3 กิโลเมตร

องค์พระธาตุตั้งอยู่ บนเนินเขาลูกเตี้ยๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น เป็นอนุสรณ์ ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต สำหรับใครที่เกิด ปีเถาะ ต้องมาที่วัดนี้เลยจะเป็นอย่างไร บ้างนั้นตามมาดูกันเลย ดูซีรี่ย์

วัดพระธาตุแช่แห้ง

มาดูถึงความเป็นมาของ วัดพระธาตุแช่แห้ง ว่าเป็นอย่างไรบ้าง? มาดูพร้อมๆกันเลย

“พระธาตุแช่แห้ง” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่าน ตามตำนานของพระธาตุองค์นี้ กล่าวว่าเมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์ มาถึงภูเพียงแช่แห้ง และพบกับพระอมละราช และพระมเหสีที่มาสรงน้ำ ที่เดียวกับพระองค์สรงน้ำอยู่

พระอมละราช ได้ถวายผ้าขาวให้พระพุทธเจ้า พระธาตุแช่แห้ง ปีเถาะ ใช้สรงน้ำแต่ผ้านั้นกลายเป็น ทองคำ พระอานนท์จึงขอพระเกศาธาตุ บรรจุในกระบอกไม้ซาง มอบให้พระอินทร์นำไปเก็บ ในอุโมงค์พร้อมผ้าทอง โดยพระอินทร์ได้ก่อพระเจดีย์สูง 7 ศอกไว้ด้านบน

ต่อมาราวปีพ.ศ. 1896 สมัยพระยากานเมือง ได้ส่งช่างไปร่วมสร้างวัดหลวงที่ สุโขทัย พระยาลือไทยจึงมอบพระธาตุ 7พระองค์ และพระพิมพ์คำ พระพิมพ์เงินอย่างละ 20 องค์ ให้พระยากานเมือง ซึ่งได้นำไปบรรจุไว้ที่ภูเพียง

และพบพระเจดีย์ที่บรรจุ พระเกศาธาตุ และพระธาตุข้อมือข้างซ้าย ของพระพุทธเจ้า พระองค์จึงให้ทำอุโมงค์ประดิษฐาน พระบรมธาตุใหม่และก่อพระเจดีย์เป็น “พระธาตุแช่แห้ง” คู่เมืองน่านมาจนทุกวันนี้ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ผู้คน มากราบสักการะกัน

ตัวพระธาตุตั้งอยู่ บนเชิงเนินปูด้วยอิฐ ลาดขึ้นไปยังยอดเนิน กว้างประมาณ 20 วา มีบันไดนาคขนาบทั้งสองข้าง องค์พระเจดีย์เป็นแบบล้านนา ฐานเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไปจนสูง ใช้แผ่นทองเหลืองบุรอบฐาน แล้วลงรักปิดทอง

จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พระยาการเมือง เจ้านครน่านได้อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุจาก กรุงสุโขทัย (กระดูกข้อมือข้างซ้าย) มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมา ประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก บาคาร่าขั้นต่ำ10บาท

ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย พระธาตุแช่แห้ง รีวิว แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้น ไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานจึงเรียกพระสถูป ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง 

วัดพระธาตุแช่แห้ง

ปริศนาธรรมของวัดพระธาตุแช่แห้ง เกี่ยวกับคำว่า “แช่แห้ง”

หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่า ทำไมจึงชื่อว่า “พระธาตุแช่แห้ง” เพราะหากคิดตามความเป็นจริง คำว่าแช่ก็ควรจะต้องเปียก แต่แล้วทำไมจึงแห้ง ในเรื่องนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับ หลักธรรม คำว่า “แช่แห้ง” เป็นคำที่นักปราชญ์ยกย่อง ให้เป็นมงคลนามยิ่ง

เป็นประหนึ่งกุญแจที่จะไขปริศนาธรรม ทั้งมวลจนดิ่งลึกเข้าสู่แดน สุญญตา คือความว่างจากตัวตน อันเป็นสุดยอดของอมฤตธรรม ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า “แช่แห้ง” จึงมีความหมายโดยนัยว่า ยอดคนหรือมหาบุรุษเท่านั้น

ที่จะทำตัวให้แห้งอยู่ในสภาวะ แห่งความเปียกปอนของอวิชชา บูชาพระธาตุแช่แห้ง ความมืดบอด แห่งสรรพกิเลศตัณหาต่างๆ ที่มากมายยิ่งกว่าสายน้ำ และมหาสมุทรทั้งหลายในโลกรวมกัน มนุษย์จะสามารถมีความสุข ท่ามกลางทะเลแห่งความทุกข์ยาก อันหมายถึงมหาวัฏฏสงสารได้อย่างไร

อีกทั้งยังแฝงไว้ด้วย ปริศนาธรรมแห่งคำว่า “แช่แห้ง” จึงยุติอยู่ที่ “อริยสัจ 4 ประการ” เพราะคำว่า แช่ หมายถึง การเปียกปอน การดิ่งจมลงในทะเลแห่ง วัฎฎสงสาร หมายถึงต้นเหตุแห่งทุกข์ มี 2 ประการคือ ทุกข์ และสมุหทัย

คำว่า แห้ง หมายถึงการหยุดนิ่ง และสิ้นสุดแห่งอาสวกิเลศทั้งปวง มี 2 ประการคือ นิโรธหรือนิพพาน และ อริยมรรค อันมีองค์ 8 ประการ คือเส้นทางที่พระตถาคต ชี้นำให้พุทธศาสนิกทั้งมวล เดินตามรอยแห่งพุทธองค์ จึงสรุปได้ในที่สุดว่า คำว่า “แช่แห้ง” จึงหมายถึง “การดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง”

เหตุผลที่วัดพระธาตุแช่แห้ง เป็นพระธาตุประจำปีเกิด ของคนที่เกิดปีเถาะ

คือเป็นการกำหนดขึ้นมา ของพระภิกษุล้านนา เพื่อเป็นกุศโลบาย ให้คนเกิดศรัทธามุ่งมั่น ทำความดีและสอนให้มีความพยายาม มีความตั้งใจเด็ดเดี่ยว ว่าในชีวิตหนึ่งขอได้ไป นมัสการพระธาตุประจำปีเกิด จะได้บุญ ตายไปก็ไม่ไปตกในอบายภูมิทั้งสี่

พระธาตุแช่แห้ง ถือว่าเป็นปูชนียสถานที่ถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดน่าน และจังหวัดใกล้เคียง มีลักษณะของศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเจดีย์ วิหารหลวง วิหารพระนอน

และบันไดนาค ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งแสดงให้เห็นถึง วัดพระธาตุแช่แห้ง จุดเด่น แบบอย่างทางศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมแบบหนึ่ง ที่ผสมผสานคติความเชื่อทางพุทธปรัชญา ไว้อย่างกลมกลืน เช่น หลังคาพระวิหาร ส่วนตรงหน้าบันวิหารช่างปั้นปูน เป็นหางของพระยานาค เกี่ยวกระหวัดกันขึ้นไป 3 ชั้น อย่างงดงามลงตัว

เป็นสัญลักษณ์แทนองค์ 3 ในพระพุทธศาสนา เช่น กฎไตรลักษณ์ คือ เกิด ตั้งอยู่และดับไป หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่สุดขององค์ 3 ก็คือคำสอนที่ว่า ละเว้นความชั่ว ทำความดีทุกเมื่อ ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว

ซึ่งเป็นรูปแบบศิลปกรรม ที่หาได้ยากในปัจจุบัน ดังนั้นโบราณสถานแห่งนี้ จึงมีความสำคัญทั้งในด้าน แบบแผนทางศิลปกรรม หลักฐานทางโบราณคดี และความเคารพนับถือ ของประชาชนในท้องถิ่น และใกล้เคียง สถานที่มูเตลู

วัดพระธาตุแช่แห้งและสิ่งที่น่าสนใจสำคัญ

วิหารหลวง อยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุ เป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไปทางด้านหน้า 2 ห้องและ ด้านหลัง 1 ห้อง ภายในวิหารหลวงมีพระเจ้าล้านทอง เป็นพระประธาน พุทธลักษณะปางมารศรีวิชัย ศิลปะล้านนา

ประทับนั่งบนฐาน เป็นพระพุทธรูปองค์ที่สวยงาม ในจังหวัดน่านองค์หนึ่ง และเป็นพระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน พระพุทธรูปประทับยืน ประดิษฐานใน วิหารหลวง จำนวน 2 องค์ปัจจุบัน องค์จริงมอบให้พิพิธภัณฑ์ จ.น่าน อีกองค์ถูกโจรกรรมและยังไม่ได้กลับคืน

องค์ที่เห็นจำลองจาก วิธีไหว้พระธาตุแช่แห้ง องค์จริงทำพิธีหล่อเททองเมื่อ ปี 2550 หน้าบันประตูของวิหารหลวง เป็นปูนปั้นลายนาคเกี่ยวกระหวัดกัน 8 หัว เอกลักษณ์ของศิลปะ เมืองน่าน เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง องค์กระธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุ ที่มีขนาดสูงถึง 55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐาน สี่เหลี่ยมจัตุรัส

กว้างด้านละ 22.5 เมตร มีสีเหลืองอร่าม เนื่องจากบุด้วยแผ่นทองเหลือง ลักษณะของเจดีย์ทรง ระฆัง ส่วนฐานทำเป็นฐานหน้ากระดาน สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ รองรับฐานบัวลูกแก้ว ย่อเก็จ ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้า กระดานสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น

องค์ระฆังมีขนาดเล็ก บัลลังก์ทำเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ย่อเก็จ ฐานหน้ากระดานกลม เป็นกระดานสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม และชั้นบัวคว่ำเหนือฐานแปดเหลี่ยม ตกแต่งคล้ายกลีบบัว หรือลายใบไม้แทนลายดังกล่าวนี้ คงได้้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า ซึ่งนำมาต่อเติมขึ้นภายหลัง เมื่อล่วงเข้า พุทธศตวรรษที่ 24 แล้ว