พิธีโอมิยะไมริ พิธีที่จัดขึ้นเพื่อรายงาน การเกิดของทารกให้ เทพอุบุซุนะกามิ

พิธีโอมิยะไมริ วันนี้จะพามารู้จักกับ พิธีแรกของเด็กญี่ปุ่น เพื่อขอพรกับเทพอุบุซุนะกามิ ให้เด็กเติบโตขึ้นมา อย่างปลอดภัย

พิธีโอมิยะไมริ ในประเทศญี่ปุ่น มีงานพิธีที่จัดขึ้นสำหรับ เด็กมากมาย แล้วทุกคนรู้ไหมว่า พิธีแรกที่เด็กญี่ปุ่นจะต้องเข้าร่วม คือพิธีอะไร บทความนี้เราจะพาทุกคน ไปรู้จักกับพิธีสำคัญนั้นกัน ข้อมูลที่นำมาเสนอเป็นข้อมูลทั่วไป รายละเอียดงานอาจ ต่างไปตามแต่ละศาลเจ้า

พิธีโอมิยะไมริ หรือพิธีเยี่ยมศาลเจ้าครั้งแรก ของเด็กทารกเป็นพิธีที่จัดขึ้น เพื่อรายงานการเกิดของทารก ให้เทพอุบุซุนะกามิ เทพผู้ดูแลปกป้องท้องถิ่นที่คนๆ หนึ่งเกิดได้รับทราบ พร้อมทั้งขอพรให้เด็กเติบโต ขึ้นมาอย่างปลอดภัย และมีสุขภาพแข็งแรง อนิเมะ

พิธีโอมิยะไมริ

มาดูถึงประวัติ พิธีโอมิยะไมริ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร? มาดูไปพร้อมๆกันเลย

ในอดีตโอมิยะไมริเป็นพิธีที่จัดขึ้น เพื่อขอบคุณเทพเจ้าประจำถิ่น ที่ช่วยให้เด็กทารก อยู่รอดปลอดภัยในเดือนแรก เนื่องจากในอดีตอัตราการรอดชีวิต ของเด็กทารกต่ำมาก หากเด็กอยู่รอดปลอดภัย ครบหนึ่งเดือนก็จะพาไปศาลเจ้า

เพื่อรับคำอวยพรจากเทพ ในฐานะอุจิโกะ (ผู้ศรัทธาในเทพเจ้าประจำถิ่น) คนใหม่ และขอให้ลูกสุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาว รวมถึงเป็นพิธีที่แม่ของทารก จะไปหลังจากการเลิก ไว้ทุกข์หลังคลอด เหตุผลที่ต้องไว้ทุกข์ ก็เพราะคนญี่ปุ่นสมัยก่อน

เชื่อกันว่าการคลอดบุตรนั้น เป็นมลทินเพราะเต็มไปด้วยเลือด และสิ่งสกปรกจึงต้อง จัดพิธีการชำระล้าง หรือการไว้ทุกข์ขึ้นมา แต่ในปัจจุบันพิธีโอะมิยะไมริ จะเป็นพิธีสำหรับอวยพร ให้ทารกแข็งแรงและปลอดภัย คนญุี่ปุ่นจัดพิธีโอมิยะไมริเมื่อไหร่

ทารกชายและทารกหญิง ไปวันเดียวกันไหม คำตอบคือไม่โดยปกติพิธีโอมิยะไมริ จะมีขึ้นในวันที่สภาพอากาศดี และทารกมีอายุได้ประมาณ 30 วัน หรือก็คือเมื่อเด็กเกิดมา ได้ครบหนึ่งเดือนนั่นเอง แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ทารกชายจะไปศาลเจ้า เมื่ออายุได้ระหว่าง 31-32 วัน

ส่วนทารกหญิงจะไปในช่วง 32-33 วัน นอกจากนี้วันที่กำหนด จะแตกต่างออกไปตามภูมิภาค เช่นภูมิภาคคันโต นิยมไปในวันที่ทารกอายุได้ 30-100 วัน ส่วนคนในภูมิภาคฮอกไกโด และภูมิภาคโทโฮคุมัก จะไปที่ศาลเจ้าในวันที่อากาศอบอุ่น

และจะหลีกเลี่ยงการจัดพิธี ในช่วงที่อากาศหนาว บางครอบครัวที่มีญาติพี่น้อง อาศัยอยู่คนละพื้นที่ทำให้ ไม่สะดวกในการมาร่วมพิธีต่างๆ หลายครั้งก็จะจัดโอมิยะไมริ ในวันเดียวกับพิธีฉลองอาหารมื้อแรก ของทารกหลังจากที่อายุครบ 100 วันไปทีเดียวเลย

ซึ่งจริงๆแล้ววันเวลา ไม่จำเป็นต้องตรงเป๊ะขนาดนั้น รอให้สุขภาพร่างกาย ของคุณแม่และลูกน้อยแข็งแรง เต็มที่หรือรอวันที่อากาศแจ่มใส แล้วค่อยไปก็ยังไม่สาย ใครเข้าร่วมพิธีได้บ้าง ใครเป็นคนอุ้มทารกแทนแม่ ที่ยังไปไหนไม่ได้

เดิมทีจะมีเพียง พ่อและปู่ย่าฝั่งพ่อเท่านั้น ที่ไปศาลเจ้าพร้อมกับทารก เนื่องจากแม่ของเด็กยังอยู่ใน ช่วงไว้ทุกข์ทำให้ไปไหนมาไหนไม่ได้ แต่ปัจจุบันคนมักจะนิยมไปกัน เป็นครอบครัวรวมถึงแม่ด้วย และบางครอบครัวจะเชิญญาติคนอื่นๆมาด้วย

และใช้วันจัดพิธีเป็นวันรวมญาติ กรณีมีคนมาร่วมพิธีไม่ได้ก็จะไปกัน เฉพาะพ่อแม่และทารก เมื่อกลับมาอาจจะเปิดภาพ หรือวิดีโอดูพร้อมกันย้อนหลังได้ เช่นกัน และเมื่ออยู่ที่ศาลเจ้า ย่าจะเป็นคนที่ได้อุ้มทารกแทนแม่ ที่ยังอยู่ในช่วงไว้ทุกข์

ทำไมถึงต้องเป็นย่า นั่นก็เพราะคนสมัยก่อนถือว่าเด็ก เป็นหลานของครอบครัวฝั่งพ่อนั่นเอง ปัจจุบันนี้แม้ว่าคุณแม่จะสามารถ ไปร่วมพิธีได้แล้วแต่ก็มีบางบ้านเช่นกัน ที่ยังให้ย่าหรือคนอื่นในครอบครัว อุ้มเด็กอยู่เนื่องจากสุขภาพ ของคุณแม่ยังไม่ค่อยแข็งแรงเต็มที่ บาคาร่าขั้นต่ำ10บาท

เป็นพิธีแบบไหน

โดยพื้นฐานแล้ว พิธีโอมิยะไมริ จะเหมือนกับการไปไหว้ขอพร ที่ศาลเจ้าในยามปกติ ขั้นตอนแรกคือการไปล้างมือ และบ้วนปากที่ โจซูยะ (อ่างน้ำหินสำหรับล้างมือของศาลเจ้า) ที่อยู่ตรงทางเข้า เมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ไปที่บริเวณสำหรับ ไหว้ขอพรและโยนเหรียญ 5 เยน หรือ 10 เยนลงไป

จากนั้นสั่นกระดิ่ง และโค้งคำนับ 2 ครั้ง ปรบมือ 2 ครั้งแล้วพนมมืออธิษฐาน สุดท้ายให้โค้งคำนับอีก 1 ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี สำหรับครอบครัวไหนต้องการ ทำพิธีอื่นร่วมด้วย เช่น พิธีโอฮาไร หรือพิธีชำระตนให้บริสุทธิ์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและการรับ โนริโตะ หรือการให้นักบวชของศาลเจ้า

เป็นคนสวดขอพรให้ ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ทางครอบครัวควรตรวจสอบ ค่าใช้จ่ายและรายละเอียดอื่นๆ ที่หน้าโฮมเพจของศาลเจ้า รวมถึงแจ้งกับทางศาลเจ้าไว้ล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายในการรับโนริโตะ จะถูกเรียกว่า ฮัตสึโฮะเรียว หรือ ทามากุชิเรียว บางศาลเจ้าจะกำหนดราค ามาให้เรียบร้อยแล้ว

ส่วนศาลเจ้าไหนไม่ได้กำหนดไว้ คนส่วนใหญ่มักจะใส่เงิน 5,000 เยน-10,000 เยน โดยที่เงินทั้งหมดจะใส่ไว้ใน ซองชูงิบุกุโระ (ซองใส่เงินรูปแบบหนึ่งของญี่ปุ่น) หน้าซองจะเขียนคำว่า โอะฮัตสึโฮะเรียว หรือ โอะทามากุชิเรียว และเขียนชื่อทารกที่ด้านล่าง วันลอยกระทง

ทารกและผู้ใหญ่ต้องแต่งตัวแบบไหน

เครื่องแต่งการแบบทางการ ของทารกในพิธีคือ ชิโระฮาบุทาเอะ กิโมโนสีขาวแบบดั้งเดิม คลุมด้วยกิโมโนอิวาอิกิ แต่เดี๋ยวนี้คนจะนิยมใส่เสื้อ ด้านในเป็นเสื้อผ้าสำหรับทารก สีขาวง่ายๆแทน กิโมโนอิวาอิกิ สำหรับผู้ชายเน้น สวมลวดลาย ที่สื่อถึงความกล้าหาญ

เช่น เหยี่ยว หรือนกกระเรียน เน้นสีดำ สีขาว สีเทาหรือสีกรมท่า ผู้หญิงจะมีลวดลายที่สื่อถึง ความเรียบร้อยอ่อนหวาน เช่น ดอกไม้ หรือผีเสื้อบนผ้ากิโมโนสีแดง ชมพู และเหลือง สำหรับวิธีการใส่ กิโมโนอิวาอิกิ ขั้นแรกให้อุ้มทารกขึ้น

จากนั้นสวม กิโมโนอิวาอิกิ ทับเสื้อตัวในและผูกเชือก ที่ติดกับกิโมโนไว้หลังคอคนอุ้ม บางพื้นที่คนจะนำเครื่องราง หรือสิ่งของแสดงความยินดีต่างๆ เช่น กลองเดนเดน และตุุ๊กตาอินุฮาริโกะ ห้อยไว้กับเชือกที่ติดอยู่กับอิวาอิกิ

แต่หลังๆก็มีบางคนนิยม สวมเสื้อผ้าสไตล์ตะวันตก ให้กับทารกส่วนการแต่งกาย ของพ่อแม่หรือญาติๆคนอื่น ก็อาจจะเลือกใส่ชุดสูท หรือชุดเดรสตามสะดวก หรือจะสวมกิโมโน แบบคลาสสิกก็ได้เช่นกัน แต่จุดสำคัญคือ ชุดของพ่อแม่ต้องไม่เด่นกว่า ชุดของลูกที่เป็นตัวเอกของพิธีครั้งนี้

รวมถึงชุดต้องเหมาะกับ สภาพอากาศด้วย ทำพิธีเสร็จแล้วก็ปิดท้ายด้วย การถ่ายรูปครอบครัวกันหน่อย งานสำคัญแรกของเบบี๋ใหม่ ของบ้านทั้งทีก็ต้องถ่ายรูปเก็บไว้กันหน่อย ในญี่ปุ่นมีสตูหลายแห่ง ที่ให้บริการเช่าชุดกิโมโน

สำหรับถ่ายรูปที่ศาลเจ้า รวมถึงบางสตูดิโอก็ให้บริการ ถ่ายถาพนอกสถานที่ ในพื้นที่บริเวณที่ตั้งของ สตูดิโอ เรทหลายราคานั้นก็มีหลากหลาย แต่ส่วนมากจะเริ่มต้นที่ 3,000 เยน และออปชั่นเสริมเริ่มต้นที่ 30,000 เยน

พิธีโอมิยะไมริถ้าได้รับเชิญ ให้เข้าร่วมต้องทำไง

สมมติว่าเรามีเพื่อนญี่ปุ่น และได้รับเชิญ ถ้าเรามอบของรับขวัญ ให้ก่อนหน้านี้แล้วก็ไม่จำเป็น ต้องให้อะไรซ้ำอีก แต่ถ้าอยากให้ของขวัญ อีกรอบหรือคิดไม่ออกว่าจะให้อะไรดี การให้เงินจำนวน 3,000 เยน ถึง 5,000 เยน

ก็นับเป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน โดยใส่เงินไว้ใน ชูกิบุคุโระ (祝儀袋, ซองใส่เงินอีกรูปแบบของญี่ปุ่น) แล้วผูกด้วยเชือกสีขาว และสีแดงในลักษณะของ มิซุฮิกิ ซึ่งเป็นวิธีการผูกเชือก แบบดั้งเดิมและเขียนที่ด้านหน้าว่า 御祝 หรือ 祝御宮参

พิธีโอมิยะไมริ ถือเป็นพิธีสำคัญพิธีแรกของเด็กๆ และเป็นพิธีที่คนในครอบครัว จะได้มารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลอง ให้กับชีวิตน้อยๆที่เกิดมา แต่พิธีนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลง และยืดหยุ่นมากขึ้นตามยุคสมัย

นอกจากพิธีโอมิยะไมริแล้ว ก็ยังมีพิธีสำคัญอีกหลายพิธีเลย ที่เด็กญี่ปุ่นจะได้เข้าร่วมระหว่าง ที่เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สง่างาม สุดท้ายหวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ ต่อทุกคนที่ได้อ่าน