พระแม่โพสพ ผู้คอยดูแลต้นข้าว ให้เจริญงอกงาม ร่ำรวยอุดมสมบูรณ์

พระแม่โพสพ วันนี้จะพารู้จักกับ เทพีแห่งข้าวปลาอาหาร เพิ่มพลังให้มนุษย์มีเรี่ยวแรง ด้วยเมล็ดพันธ์ุข้าว

พระแม่โพสพ บ้างเรียก โพสี ภาษาถิ่นพายัพ และอีสานว่า โคสก หรือ เสื้อนา เสื้อไร่ ภาษาไทลื้อว่า ย่าขวัญข้าว ภาษากะเหรี่ยงว่า ภี่บือโหย่ หรือ ผีบือโย ภาษามลายูปัตตานีว่า มะฮียัง (Mak Hiang) เป็นเทพเจ้าแห่งข้าว ตามคติความเชื่อของไทย

โพสพ ตามความเชื่อแต่เดิมเป็น เทวสตรี แต่ภายหลังได้มีคติปรากฏ เป็นบุรุษเพศคู่กัน มีปลาเป็นพาหนะ นอกจากนี้ยังปรากฏใน โคลงทวาทศมาส ออกนามว่า “พระไพศภ” “พระไพศพ” หรือ “พระไพสพ”

และปรากฏอยู่ในพระอัยการเบ็ดเสร็จ ในกฎหมายตราสามดวง ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าให้ชำระ มังงะ

พระแม่โพสพ

มาดูประวัติและตำนานของ พระแม่โพสพ ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง? มาดูกันเลย

โพสพ เป็นเทวดาตามความเชื่อดั้งเดิม ของกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท ตามคติการนับถือผีผู้หญิง ความเชื่อเรื่องขวัญ และเกิดจากรากฐานสังคมเกษตรกรรม ที่มีมาช้านานมีพิธีกรรมบูชา แม่โพสพ โดยทำ เฉลว ในหน้านา

ด้วยมีความเชื่อว่าแม่โพสพ จะบันดาลให้วิถีชีวิตของพวกเขา พออยู่พอกิน เป็นมิ่งขวัญของชาวนาในยุ้งฉาง ข้าวออกรวงงามสมบูรณ์ ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียนหรือเฉาตายไปเสีย อันเกิดจากความไม่แน่นอน ของสภาพแวดล้อมที่ชาวนาต้องเผชิญ

พวกเขาต้องพึ่งพา ฝนฟ้าอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูก สุจิตต์ วงษ์เทศ นักประวัติศาสตร์อธิบายว่า นางโพสพ มีชื่อดั้งเดิมว่า แม่ข้าว เป็นผีบรรพชนข้าวในศาสนาผี อันเป็นศาสนาพื้นเมือง ดั้งเดิมของคนไทย และการเปลี่ยนชื่อเกิดขึ้น จากการรับภาษาและศาสนาจากอินเดีย

แม้พระแม่โพสพจะมีมาเนิ่นนาน ก่อนการรับศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ ในยุคหลังมีความเชื่อถือว่า นางโพสพเป็นพระภาคหนึ่งของ พระลักษมี บ้างก็ว่าเดิมเป็นชายาองค์หนึ่ง ของพระอินทร์ ชื่อ พระสวเทวี (เพื่อโยงชื่อโพสพเข้ากับชื่อชายา พระอินทร์ นั่นคือให้ ‘สพ’ แผลงมาจาก ‘สว’ ส่วน โพอาจจะมาจากชื่อ ไพสพ ของเทวดารักษาทิศอีสาน)

บ้างก็ว่าคือท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ เทพเจ้าประจำทิศเหนือ ซึ่งเป็นคติที่รับมาจากอินเดีย โดยท้าวกุเวรนั้นเป็นบุรุษ รูปร่างอ้วนท้วน พุงพลุ้ย ในพระหัตถ์ถือถุงเงิน ด้วยเป็นเทพเจ้าแห่งทรัพย์สิน แต่ไทยปรับเปลี่ยนมาเป็นเทวสตรี และกลายเป็นเทพเจ้าแห่งข้าว

ครั้นเมื่อชาวไทยเลือกที่จะนับถือ ศาสนาพุทธเป็นหลักแล้ว แต่ยังไม่ละทิ้งความเชื่อดั้งเดิมไปด้วย ทำให้เกิดการผสานความเชื่อ ดังจะพบว่ามีการนำข้าวมาทำบุญ ถวายพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ ใช้อุทิศแก่บรรพบุรุษ และใช้ไหว้เจ้าที่ หรือนางโพสพเพื่อแสดงความกตัญญู

ถือเป็นการนำแนวคิด แบบพุทธมาปรับใช้กับพิธีกรรม พื้นเมืองโคลงทวาทศมาส ซึ่งเป็นวรรณกรรมของ อาณาจักรอยุธยามีการกล่าวถึง “พระไพสพ” ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งข้าว นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว อธิบายว่า “ไพสพ” เป็นคำเดียวกับ “โพสพ” ที่พัฒนามาจาก “ไวศรวณะ”

คือพระไพศรพณ์ หมายถึงท้าวกุเวร หรือท้าวเวสวัณ เทพแห่งความมั่งคั่ง และเจ้าแห่งทรัพย์ และเปลื้อง ณ นคร อธิบายเพิ่มเติมว่า “โพสพ” พัฒนามาจาก “ไพศรพณ์” เพราะสมัยนั้นถือว่าข้าว เป็นทรัพย์อย่างหนึ่ง ในยุครัตนโกสินทร์ มีเอกสารทางศาสนาคือ ตำราภาพเทวรูป และ นารายณ์ยี่สิบปาง

มีพระมหาไชไพรสภ เป็นเทพเจ้าแห่งข้าว แต่ต่างกับนางโพสพ คือเพศสภาพตามคติชายเป็นใหญ่ ในราชสำนักกัมพูชา ก็รับความเชื่อเรื่องนางโพสพของไทยไปด้วย แต่นับถือในฐานะบุรุษเพศ ตามอย่างช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คือนับถือพระไพสพ

ในรัชกาลสมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี จัดให้มีพระราชพิธีบูชาพระไพสพ ด้วยการบูชาภูเขาข้าวเปลือก ตั้งแต่ พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ปัจจุบันการบูชาแม่โพสพ ได้สร่างซาลงไป โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายมลายู ที่เลิกการบูชาโพสพ

เพราะขัดกับหลักศาสนาอิสลาม ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงอุปถัมภ์พิธีกรรมโบราณนี้ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 บางหมู่บ้านก็มีสตรีแต่งกาย เป็นพระแม่โพสพช่วงเทศกาล หรืองานเฉลิมฉลองในท้องถิ่น แทงบอลโลก

รูปลักษณ์ของพระแม่โพสพ ในยุคแรกๆ

รูปลักษณ์ของ นางโพสพยุคแรกๆ เป็นรูปสตรียืนถือพันธุ์พืช ดังพบเจว็ดศิลาชิ้นหนึ่ง เป็นรูปเทวสตรียืนถือช่อพันธุ์พฤกษา ศิลปะอยุธยา และเจว็ดดินเผาพบในพระราชวังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นรูปเทวสตรียืนอยู่บนเต่า ยกแขนข้างหนึ่ง

แต่ชำรุดไปเสียจึงไม่ทราบว่า ยกอะไรคาดว่าน่าจะเป็นรูปเคารพ ของนางโพสพ ปัจจุบันเจว็ดทั้งสองจัดแสดงใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ต่อมาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีจิตรกรรมนางโพสพ ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง

เป็นภาพนางโพสพ ยืนถือรวงข้าวในมือ ปรากฏตัวพร้อมกับเทพองค์ต่างๆ สื่อถึงความเป็นสิริมงคล และความสมบูรณ์พูนสุข ของแผ่นดินทว่าในยุคหลังมานี้ การสร้างรูปลักษณ์อิงจาก นางกวัก ซึ่งเป็นเทพพื้นเมืองเช่นกัน ทำให้โพสพมีลักษณะ

“เป็นหญิงสาวท่าทางอ่อนช้อย สวยงามภาพของนางที่สร้างขึ้น เพื่อเคารพบูชาเป็นท่านั่งพับเพียบ มือขวาถือรวงข้าวมือซ้ายถือถุงข้าว แต่งกายนุ่งผ้าถุงห่มผ้าสไบเฉียง แบบหญิงในวังสมัยก่อน”

การสร้างรูปนางโพสพ มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแต่งกายอย่างตัวละคร ในวรรณคดีไทย คือสวมสไบเฉียง สวมกรอบหน้า จอนหู สวมเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ต่างๆ นั่งพับเพียบอย่างนางกวัก บ้างก็เป็นรูปนางโพสพขี่ปลาก็มี ความเชื่อเรื่องบ้าน

เกี่ยวกับพิธีกรรม

ในฤดูทำนาจะมีการทำขวัญข้าว หรือการทำขวัญแม่โพสพสองครั้ง ครั้งแรกคือในช่วงข้าวออกดอก หรือตั้งท้องเปรียบนางโพสพ เป็นหญิงตั้งครรภ์แพ้ท้องอยากอาหารต่างๆ และครั้งหลังคือทำหลังนวดข้าว และเก็บข้าวเข้ายุ้ง

ถือเป็นการเรียกขวัญ เพราะนางโพสพเป็นหญิงสาวอ่อนไหว ตกใจง่ายบางท้องที่ต้องกระทำ ตามฤกษ์ยามที่เหมาะสม มิเช่นนั้นจะถูกผีเสื้อข้าว กินผลผลิตจนสิ้น โดยการทำขวัญข้าว หรือทำขวัญแม่โพสพนั้น แต่ละท้องถิ่นจะมีพิธีกรรม หรือธรรมเนียมแตกต่างกันออกไป

อย่างเช่นในแถบจังหวัดปทุมธานี ต้องเตรียมเฉลว ธงสามสี มีแป้งหอม น้ำมันหอม หวี และกระจก จะให้ผู้หญิงนำอาหาร และเครื่องเซ่นใส่ชะลอม ไปไว้ที่หัวคันนาของแปลงนา ที่ตั้งศาลไว้ โดยปักไม้ไว้ข้างศาล เพื่อแขวนชะลอมที่บรรจุอาหาร เครื่องเซ่น

และประดับธงสามสีไว้บนยอดเสา จุดธูปสามดอกแล้วสวดบูชา พระรัตนตรัย “นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธ ทัสสะ” สามจบ แล้วกล่าวคำบูชาพระ “พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา”

จากนั้นจึงกล่าวคำเรียกขวัญ นางโพสพว่า “แม่พระศรี แม่พระโพสพ แม่พระนพดารา ขอเชิญแม่มาสังเวย อาหารเปรี้ยวหวานมันเค็ม กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าลูกใหญ่ ส้มสูกลูกไม้ ขอเชิญมาแม่สังเวยอยู่กับลูกเลี้ยงลูกคน ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร ขอเชิญแม่มา ณ บัดนี้”

จากนั้นจึงเอาน้ำมันหอมทาใบข้าว เอาหวีมาสาง เอาแป้งมาพรมของสังเวย เสร็จแล้วให้ร้องกู่สามครั้ง แล้วเดินออกไปห้ามเหลียวหลังมาดู เพราะนางโพสพจะอาย ไม่มารับของสังเวย