พระนางพญา วันนี้จะพามารู้จักกับ ราชินีแห่งพระเครื่อง พระดินเผาผสมผสานระหว่าง ศิลปะสุโขทัยและอยุธยา
พระนางพญา เป็นพระเครื่องที่เกี่ยวเนื่องกับ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีมูลเหตุการสร้างจากการที่ พระองค์ทรงเป็นองค์อุปถัมภก พระพุทธศาสนาอีกทั้งมีพระอาจารย์ ที่เป็นประมุขฝ่ายสงฆ์ ที่เชี่ยวชาญทั้งด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
พระองค์จึงสร้างพระเครื่อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสืบทอด ศาสนาพุทธทั้งใช้เป็น เครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ของประชาชนในขณะนั้น ให้อยู่ในกรอบศีลธรรม รวมถึง เป็นขวัญกำลังใจให้เหล่าทหาร ในยามศึกสงคราม
มีพุทธคุณที่เน้นในเรื่อง ป้องกันภยันตราย ไม่ให้เข้ามาแผ้วพาน อยู่ยงคงกระพัน เกิดเมตตามหานิยมจากผู้พบเห็น จำแนกได้หลายพิมพ์ ได้แก่พระนางพญาพิมพ์ใหญ่คือ พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง ซึ่งแยกออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงธรรมดา พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงพิมพ์มือตกเข่า ส่วนพระนางพญาขนาดเล็กที่เป็นที่นิยมที่สุด ก็คือพระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ ดูบอล
มาดูถึงประวัติ พระนางพญา ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง? ไปดูพร้อมๆกันเลย
พระนางพญา เป็นพระพุทธปฏิมาแบบนูนต่ำ ในรูปทรงสามเหลี่ยม ประทับนั่งปางมารวิชัย ไม่มีอาสนะหรือฐานรองรับ ทรวดทรงองค์เอวอ่อนหวาน ละมุนละไมและงามสง่าในที พระเครื่องนางพญา การแตกกรุของ พระเครื่องนางพญา ก็คือเมื่อตอนปี พ.ศ. 2444
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทรงทอดพระเนตรการหล่อ พระพุทธชินราชจำลอง และทรงได้เสด็จประพาสวัดนางพญาด้วย สันนิษฐานว่าทางวัดนางพญา ก็คงพัฒนาปรับปรุงเคหสถาน
เพื่อเตรียมรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง และสร้างศาลาที่ประทับไว้ จึงได้พบพระเครื่อง กรุพระนางพญา และมีการคัดเลือกพระองค์ ที่งดงามขึ้นทูลเกล้าถวาย และถวายราชวงศ์ใหญ่น้อย ตลอดจนแจกจ่ายข้าราชบริพาร ที่โดยเสด็จ
จากการบันทึกคำบอกเล่า จากพระอาจารย์ขวัญ วัดระฆังฯ ว่าท่านได้รับคำบอกเล่าจาก ข้าราชการรุ่นเก่าผู้หนึ่ง ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง แต่ท่านจำชื่อไม่ได้แล้ว คุณหลวงผู้นั้นได้เล่าให้ท่านฟังว่า ได้พระนางพญามาจากพิษณุโลก 2-3 องค์
ในคราวตามเสด็จ พระพุทธเจ้าหลวงในครั้งนั้นด้วย เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน และเกสรดอกไม้ ปรากฏแร่กรวดทรายผสมผสานคลุกเคล้า กดเป็นองค์พระแล้วเสร็จ จึงนำไปเผา พระส่วนใหญ่จะมีเนื้อผสมว่านน้อย หรืออาจจะไม่มี
เนื้อพระจึงดูค่อนข้างหยาบ แกร่งและแข็งมาก ที่เป็นเนื้อละเอียดจะผสมว่านมาก ทำให้เนื้อพระหนึกนุ่มสวยงาม ก็มีแต่พบเห็นน้อย ผู้รู้ได้จำแนกพิมพ์ทรงดังนี้ กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ได้ทั้งหมด 7 พิมพ์ คือ
- พิมพ์เข่าโค้ง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์หนึ่ง
- พิมพ์เข่าตรง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่ โดยเฉพาะพิมพ์เข่าตรง แยกออกเป็น 2 พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์เข่าตรง “ธรรมดา” กับพิมพ์เข่าตรง “มือตกเข่า” แต่ทั้งสองพิมพ์ก็ถือว่าอยู่ในความนิยมเหมือนกันทั้งคู่
- พิมพ์อกนูนใหญ่ ถือเป็นพิมพ์ใหญ่
- พิมพ์อกนูนเล็ก ถือเป็นพิมพ์เล็ก
- พิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพิมพ์กลาง
- พิมพ์อกแฟบ หรือ พิมพ์เทวดา ถือเป็นพิมพ์เล็ก
- พิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เข่าบ่วง หรือ พิมพ์ใหญ่พิเศษ แทงบอลโลก
มวลสารของพระนางพญา และพุทธลักษณะ
เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุด ในบรรดาพระเนื้อดินของ ชุดเบญจภาคี มีเนื้อสีอิฐแดงเหลือง เนื้อเขียวเนื้อต่ำ มีทั้งมวลดินมงคลมวลเม็ดทรายแทรกปนอยู่ ในเนื้อมากเรียกกันว่าเม็ดแร่ มีทั่วองค์พระมีส่วนผสมมวลสาร เหล็กไหลเหล็ก
น้ำพี้พระธาตุมีสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพูผงถ่านใบลาน เกสรดอกไม้ 108 ว่าน น้ำมนต์ทิพย์ พุทธลักษณะอันโดดเด่น อันเป็นเหตุที่ทำให้เรียกว่า “พระนางพญา” เพราะมีความงดงามสง่า โดยจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่น และลำแขนทอดอ่อนช้อย คล้ายกับอิสสตรี
จึงได้รับสมญาว่า “ราชินีแห่งพระเครื่อง” ส่วนใหญ่มีรูปร่าง เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว องค์ขนาดปานกลาง ไม่เล็กหรือใหญ่มาก ฐานกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.8 เซนติเมตร พื้นผิวด้านข้างไม่เรียบนัก ด้านหลังบางองค์จะมีลายนิ้วมือ ของพระหรือครูบาอาจารย์
มักมีเม็ดผดปรากฏนูนขึ้นมา จนกระทั่งสัมผัสได้มีหลายสี ได้แก่ สีดำ สีมันปู สีแดง สีดอกจำปี สีดอกพิกุลแห้ง สีหัวไพลแห้ง สีขมิ้นชัน สีเขียวใบไม้ สีเขียวมะกอกดิบ สีเขียวครกหิน สีตับเป็ด สีสวาด สีอิฐ บางองค์ที่แม้มีสภาพสมบูรณ์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพียงแต่มีคราบไคลขี้กรุฝังอยู่ ในเนื้อขององค์พระเท่านั้น
ลักษณะพระนางพญาพิมพ์เข่าตรง
พิมพ์เข่าตรง ‘พระเพลา’ ที่วางซ้อนกันจะมีลักษณะ เป็นเส้นตรงจึงเป็นที่มาของ ชื่อ “พิมพ์เข่าตรง” ซึ่งจะแบ่งออกเป็นพิมพ์ย่อยได้ 2 พิมพ์ คือ พิมพ์เข่าตรง และ พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า เป็นหนึ่งในพระนางพญาพิมพ์ใหญ่
ที่ได้รับความนิยมสูงรองลงมาจาก “พิมพ์เข่าโค้ง” ลักษณะการตัดขอบทั้ง 3 ด้าน จะเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และศิลปะบนพระพักตร์ จะปรากฏชัดเจนกว่าพิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์อกนูนใหญ่ ‘พระอุระ (หน้าอก)’ จะนูนใหญ่กว่าพิมพ์อื่นๆ
อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ตามชื่อพิมพ์พระวรกายดูล่ำสัน บึกบึนกว่าพระเพลา มีลักษณะโค้งคล้ายกับพิมพ์เข่าโค้ง แต่จะนูนและหนาใหญ่กว่าทุกพิมพ์ เป็นอีกหนึ่งในกลุ่ม ‘พระนางพญาพิมพ์ใหญ่’
พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่
ลักษณะการตัดขอบทั้ง 3 ด้าน จะเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เป็นพิมพ์ที่มีจำนวนน้อยมาก และหายากมากที่สุด ในวงการพระเองยังมีหมุนเวียนอยู่ไม่กี่องค์ ขนาดรูปภาพ ก็ยังหาชมได้ยากยิ่ง พิมพ์สังฆาฏิ เป็นพระนางพญาพิมพ์เล็ก คือ มีขนาดเล็กกว่า ‘พระนางพญาพิมพ์ใหญ่’
ซึ่งประกอบด้วย พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์เข่าตรง และพิมพ์อกนูนใหญ่ แต่พิมพ์สังฆาฏินี้จะมีขนาดเขื่องกว่า พิมพ์เทวดา และพิมพ์อกนูนเล็กเล็กน้อย ‘เส้นสังฆาฏิ’ จะมีความหนาเป็นแผ่นใหญ่ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ องค์พระจะดูผึ่งผาย
พระพักตร์แป้น และกว้างกว่ารวมทั้งพระหนุ (คาง) ก็จะป้านกว่า พิมพ์เทวดาและพิมพ์อกนูนเล็ก ลักษณะการตัดขอบทั้ง 3 ด้าน ค่อนข้างหรือเกือบจะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งแตกต่างจากพิมพ์อื่นๆ ที่มีการตัดขอบเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว การสักยันต์
วิธีการพิจารณา พระนางพญา วัดนางพญา
วิธีการพิจารณา ‘พระนางพญา วัดนางพญา’ นั้นนอกจากหลักการพิจารณาเบื้องต้น เกี่ยวกับคุณสมบัติของเนื้อดิน ผิวขององค์พระซึ่งถูกกัดกร่อน ตามกาลเวลา กรรมวิธีการตัดขอบ และเม็ดผดซึ่งจะขึ้นอยู่ทั่วไป ทั้งด้านหน้าและด้านหลังองค์พระแล้ว
ยังต้องพิจารณา “ศิลปะบนพระพักตร์” ด้วยเพราะ ‘พระนางพญา วัดนางพญา’ ทุกพิมพ์นั้นถึงจะมี พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ แต่ศิลปะจะเป็นลักษณะให้เห็นรางๆ หรือนูนขึ้นมาบ้างเล็กน้อยเท่านั้น มิได้เป็นเส้นชัดเจนเหมือน พระนางเสน่ห์จันทร์
หรือพระในสกุลขุนแผน และเมื่อพิจารณา ‘เอกลักษณ์เฉพาะ’ ของแต่ละพิมพ์ดังที่กล่าวไปแล้วนี้ ก็ยังต้องจดจำจุดตำหนิ แม่พิมพ์ของพิมพ์ต่างๆทั้ง 6 พิมพ์ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป ได้อย่างแม่นยำด้วย เรียกว่าต้องใช้ความชำนาญ และการเรียนรู้อย่างมาก กว่าจะหา ‘พระแท้’ ที่หายากยิ่งได้สมใจสักองค์