พระธาตุดอยตุง วันนี้จะพาไปดู วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ที่ชาวเชียงรายเคารพสักการะ
พระธาตุดอยตุง วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่า หน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจาก อำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม.
และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐาน อยู่บนยอดดอยสามารถมองเห็นได้ ในระยะไกลเนื่องจาก พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ประมาณสองพันเมตร พระธาตุประจำปีกุน มีลักษณะเป็นเจดีย์สีทองสององค์ ที่สร้างขึ้นอย่างงดงาม
ภายในเป็นที่บรรจุ พระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า และเป็นพระธาตุประจำปีเกิด ของคนเกิดที่ในปีกุนอีกด้วย โดยจะมีการจัดงานนมัสการ และสรงน้ำพระธาตุขึ้นเป็นประจำ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคมของทุกปี หนังออนไลน์
มาดูถึงประวัติของ พระธาตุดอยตุง ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง? ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
ตามตำนานสิงหนติโยนก และตำนานพระธาตุดอยทุง วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยดินแดง ประทับบนหินก้อนหนึ่ง มีรูปทรงเหมือนมะนาวผ่าซีก และทำนายว่าที่นี่จะเป็น ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า)
และบอกพระอานนท์ว่า หลังพระองค์ปรินิพพาน ให้พระมหากัสสปะนำ พระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่นี่ พ.ศ.1 สมัยพญาอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นองค์ที่ 3 พระมหากัสสปะได้อัญเชิญโกศแก้วปัทมราช บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า)
มายังเมือง โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย แล้วบอกเรื่องราวที่พระพุทธเจ้า ได้ทำนาย พญาอชุตราชยินดี จึงให้สร้างโกศเงิน โกศทองคำเข้าซ้อนโกศแก้วปัทมราช บูชาด้วยข้าวตอกดอกไม้ แล้วแห่ออกจากเมือง ไปยังยอดดอยดินแดง พระมหากัสสปะตั้งโกศประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุบนหิน
ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ แล้วอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุ จมลงในหินประมาณ 8ศอก พญาอชุตราชขอซื้อที่ จากปู่เจ้าลาวจกและย่าเจ้า 1,000คำ ด้านละ 3,000วา และถวายครัวมิลักขุ 500 ครัวดูแลพระธาตุ พระมหากัสสปะได้ให้ทำตุง (ทุง) เสายาว 8,000วา ตุงยาว 7,000วา กว้าง 500วา
ปักบูชาพระธาตุ จึงเรียกว่า ดอยทุง (ดอยตุง) แต่นั้นมา กัมมะโลฤๅษีได้มาอยู่อุปัฏฐากพระธาตุ บริเวณดอยมุงเมือง พระธาตุประจำปีกุน ต่อมาแม่กวางตัวหนึ่งมาดื่มน้ำ ปัสสาวะพระฤๅษี ตั้งท้องเกิดลูกเป็นกุมารีน้อย กัมมะโลฤๅษีเก็บมาเลี้ยง
ตั้งชื่อว่านางปทุมมาวติ เมื่ออายุได้ 16 ปี พญาอชุตราช ได้มาสู่ขอนางไปเป็นมเหสี ด้วยทองคำ 400,000 คำ กัมมะโลฤๅษี ให้นำทองคำนั้นไปหล่อเป็นรูปกวาง สมมุติเป็นแม่ให้นางปทุมมาวติ กราบไหว้ทุกวัน
พ.ศ.100พระธาตุดอยตุง ในสมัยพระองค์มังรายนราช
พ.ศ.100 สมัยพระองค์มังรายนราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนก นครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นองค์ที่ 4 ตำนานสิงหนติโยนกว่า พระมหาวชิรโพธิเถระ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุ มาถวาย 150 องค์ ส่วนตำนานพระธาตุดอยทุง วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนว่า สุรเทโวฤๅษี ได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์
พระองค์มังรายนราชยินดี ให้ทำโกศเงินโกศทองคำ โกศแก้วเข้าซ้อนกัน แล้วแห่ออกจากเมืองไปยัง ยอดดอยทุง ตั้งโกศประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุบนหินที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุสมัยพญาอชุตราช แล้วอธิษฐานให้ พระบรมสารีริกธาตุจมลงในหิน ประมาณ 7 ศอก
พระองค์มังรายนราช ให้ก่อเจดีย์ครอบหินสูง 7 ศอก พระธาตุประจำปีกุน บุเงินจังโก ทองจังโก ประดับแก้ว 7 ประการ ฉลองพระธาตุ 3 เดือน แล้วซื้อครัวมิลักขุ 500 ครัวที่พญาอชุตราช เคยถวายมาถวายพระธาตุอีกครั้ง ปู่เจ้าลาวจกและย่าเจ้าได้ อุปัฏฐากพระธาตุ ด้วยอานิสงค์จึงไปจุติเป็น เทวบุตรและเทวธิดาบนสวรรค์
พ.ศ.219 สมัยพระองค์เพิง กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนก นครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นองค์ที่ 8 พระมหารักขิตเถระได้นำ พระบรมสารีริกธาตุมา 9 องค์ พระองค์เพิงให้ทำโกศเงิน โกศทองคำ โกศแก้วเข้าซ้อนกัน แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งบรรจุที่ดอยโยนกปัพพตะ ส่วนหนึ่งบรรจุที่พระธาตุดอยทุง
ส่วนหนึ่งบรรจุที่พูกวาวหัวเวียง ไชยนารายณ์เมืองมูล แต่เนื่องจากไม่สามารถประดิษฐาน ในหินที่เดียวกับที่เคยฝังพระบรมสารีริกธาตุได้ เพราะมีการสร้างเจดีย์ครอบทับแล้ว จึงสร้างเจดีย์อีกองค์ทางทิศตะวันออก ของเจดีย์องค์เดิม พระธาตุประจำปีกุน เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในครั้งนี้ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.221 ฉลองพร้อมกันทุกแห่ง ทำให้พระธาตุดอยทุง มีเจดีย์ 2 องค์ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
สุรเทพาฤๅษีได้มา อุปัฏฐากพระธาตุดอยตุง
พ.ศ.270 สุรเทพาฤๅษี ได้มาอุปัฏฐากพระธาตุดอยทุง พระธาตุประจำปีกุน สร้างศาลาอยู่ที่ทางทิศตะวันตก ได้นำพระบรมสารีริกธาตุ 15 องค์มาอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุ จมลงในหินรูปร่างเหมือนช้างมูบ (ช้างหมอบ) ประมาณ 5ศอก แล้วก่อเจดีย์บนหินสูง 7ศอก
สุรเทพาฤๅษี อยู่รักษาอุปัฏฐากพระธาตุ 100 ปีก็จุติยังพรหมโลก คนทั้งหลายเรียกพระธาตุช้างมูบ พ.ศ.300 กัมปติสโลเทวบุตร ได้นำต้นนิโครธจากเมืองกุสินารา มาปลูกทางทิศเหนือของพระธาตุช้างมูบ สูง 7ศอก มีกิ่งก้านสาขา 4 กิ่ง แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ยังไม่ค้นพบหลักฐานที่กล่าวถึง
ยุคสมัยโยนกนคร ตามที่ตำนานอ้างไว้ สมัยพญามังราย ได้เสด็จขึ้นมาไหว้พระธาตุ และให้เวนทานครัวมิลักขุ 500 ครัว ไว้อุปัฏฐากดูแลรักษาพระธาตุ สมัยพญาไชยสงคราม ได้เสด็จขึ้นมาไหว้พระธาตุ และให้เวนทานครัวมิลักขุ 500 ครัวไว้อุปัฏฐากดูแลรักษาพระธาตุ
พร้อมถวายที่ดินด้านละ 3,000วา สมัยพญากือนา ได้เสด็จขึ้นมาไหว้พระธาตุ วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย และให้เวนทานครัวมิลักขุ 500 ครัวไว้อุปัฏฐาก ดูแลรักษาพระธาตุ พร้อมถวายที่ดินด้านละ 3,000วา
พระธาตุดอยตุงรูปแบบสมัยล้านนา และการบูรณะของครูบาศรีวิชัย
ส่วนฐาน ฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกพื้นสูงถัดจากฐานเขียง เป็นส่วนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ประดับลูกแก้วอกไก่ เพียงเส้นเดียวที่ท้องไม้ (ครูบาศรีวิชัยปรับเป็นลูกแก้วธรรมดา) อยู่ในผัง 8เหลี่ยม ส่วนกลาง ส่วนรองรับองค์ระฆัง ทำเป็นฐานเขียงซ้อนกัน 2 ฐานในผัง 8เหลี่ยม
รองรับบัวปากระฆัง และองค์ระฆัง 8เหลี่ยม (ครูบาศรีวิชัยบูรณะส่วนองค์ระฆังให้สูงขึ้นกว่าเดิม) ส่วนยอดบัลลังก์แบบชุดฐานบัวรูป 8เหลี่ยม เหนือบัลลังก์ปั้นรูปกลีบบัวหวาย รายรอบรับบัวฝาละมีรูปบัวคว่ำ ในแผนผังทรงกลม รองรับปล้องไฉน ปลียอด รูปแบบดังกล่าวเป็นเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยม
ศิลปกรรมล้านนา ตอนปลายราวพุทธศตวรรษที่ 21 พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ได้เสนอว่า พระธาตุดอยตุง วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย เปรียบเทียบรูปแบบได้กับ พระธาตุดอยสุเทพ ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองเกษเกล้า โดยมีการทำส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นเหลี่ยม
พระธาตุดอยสุเทพเป็น 12เหลี่ยม ส่วนพระธาตุดอยตุงเป็น 8เหลี่ยม ซึ่งเชื่อว่าการทำส่วนรองรับองค์ระฆัง เป็นเหลี่ยมนี้ไม่เก่าไปกว่าพระธาตุดอยสุเทพ จึงเชื่อว่าพระธาตุดอยตุง พระธาตุประจำปีกุน น่าจะสร้างในราวปี พ.ศ.2129 เพราะมีการพรรณาถึง การทำนุบำรุงพระธาตุดอยตุงถึง พ.ศ.2129 โดยนรธามังช่อ