พระคเณศ เทพเจ้าซึ่งเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมนับถือมาก ในศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดู

พระคเณศ หรือ พระพิฆเนศ เทวดาในศาสนาฮินดู ที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างแพร่หลายที่สุด

พระคเณศ ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ พระนามอื่นที่พบ เช่น พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศวร์ หรือ คณปติ เป็นเทวดาในศาสนาฮินดูที่ได้รับการเคารพบูชา อย่างแพร่หลายที่สุดพระองค์หนึ่ง พบรูปแพร่หลายทั้งในประเทศอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, ฟิจิ, ไทย, บาหลี, บังคลาเทศ

นิกายในศาสนาฮินดูทุกนิกาย ล้วนเคารพบูชาพระคเณศ ไม่ได้จำกัดเฉพาะในคาณปัตยะเท่านั้น และการบูชาพระคเณศยังพบในพุทธและไชนะ อีกด้วย พระลักษณะที่โดดเด่นจากเทพองค์อื่นๆ คือ พระเศียรเป็นช้าง เป็นที่เคารพกันโดยทั่วไปในฐานะของ เทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค, องค์อุปถัมภ์แห่งศิลปวิทยาการ วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ทั้งปวง

และทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาดเฉลียว และปัญญา ในฐานะที่พระองค์ยังทรงเป็น เทพเจ้าแห่งการเริ่มต้น ในบทสวดบูชาต่างๆก่อนเริ่มพิธีการ หรือกิจกรรมใดๆ ก็จะเปล่งพระนามพระองค์ก่อนเสมอ

นอกจากนั้นพระพิฆเนศ ยังเป็นที่เคารพนับถือของ ศาสตร์ในด้านศิลปินและศิลปะต่างๆ สังเกตได้จากในพิธีต่างๆ จะมีการอัญเชิญพระพิฆเนศ มาร่วมเป็นสิ่งศักสิทธิ์ ที่คอยประสิทธิ์ประศาสตร์พร ให้กับผู้ร่วมพิธีอีกด้วย เว็บดูบอลสดฟรี

พระคเณศ

มาดูถึงประวัติและตำนาน พระคเณศ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร มาดูกัน 

โดยทั่วไปถือกันว่าพระคเณศ เป็นพระโอรสของพระศิวะและพระปารวตี แต่เรื่องปรัมปราปุราณะมีข้อมูลต่างไป บางปุราณะระบุว่า พระปารวตีเป็นผู้สร้างพระคเณศ บางปุราณะระบุว่า พระศิวะและพระปารวตีเป็นผู้ร่วมกันสร้าง 

บางปุราณะระบุว่า พระองค์ปรากฏตัวขึ้นมาอย่างลึกลับ แล้วพระศิวะกับพระปารวตีไปพบ หรือว่าพระองค์ประสูติแก่เทวี ที่มีเศียรเป็นช้างพระนามว่า มาลินี (Malini) หลังทรงดื่มน้ำสรงของพระปารวตี ที่เทลงแม่น้ำเข้าไป

ครอบครัวของพระองค์ ประกอบด้วย พระเชษฐาและอนุชา พระขันธกุมาร (การติเกยะ) เทพเจ้าแห่งการสงคราม ลำดับการประสูติของพระคเณศ กับพระการติเกยะ แตกต่างกันไปตามภูมิภาค

ในอินเดียเหนือเชื่อกันทั่วไปว่า พระการติเกยะเป็นผู้พี่ แต่ในอินเดียใต้กลับเชื่อว่า พระคเณศประสูติก่อน ในอินเดียเหนือนั้น พระการติเกยะทรงเป็นเทพเจ้าแห่งการรบองค์สำคัญ ในช่วงระหว่าง 500 ปีก่อนคริสตกาล ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6

ที่ซึ่งการบูชาพระองค์ได้เริ่มเสื่อมลง ในขณะเดียวกันกลับเป็นพระคเณศ ที่ทรงได้รับความนิยมมากขึ้นแทน มีหลายเรื่องเล่า ที่เล่าถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างพี่น้องสองพระองค์ และอาจสะท้อนถึงความตึงเครียด

ระหว่างนิกายสำหรับสถานภาพสมรส พระคเณศ ซึ่งเป็นหัวข้อการทบทวนวิชาการอย่างแพร่หลายนั้น ต่างกันไปตามนิยายปรัมปรา เรื่องปรัมปราหนึ่งที่ไม่ค่อยรู้จักแพร่หลาย ระบุว่า พระคเณศได้ถือครองพรหมจรรย์ 

ความเชื่อนี้แพร่หลายในอินเดียใต้ และบางส่วนของอินเดียเหนือ ความเชื่อกระแสหลักที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป อีกอย่างหนึ่งเชื่อมโยงพระองค์กับ พุทธิ (Buddhi – ปัญญา), สิทธิ (Siddhi – พลังทางจิตวิญญาณ) และ ฤทธิ (Riddhi – ความเจริญรุ่งเรือง)

ลักษณะต่างๆทั้งสามกลายมาเป็น บุคลาธิษฐาน ของเทวสตรีทั้งสามพระองค์ ที่กล่าวกันว่าเป็นพระมเหสีของพระคเณศ บ้างมีการแสดงว่าพระองค์ประทับ อยู่กับพระมเหสีองค์เดียว หรือกับทาสีนิรนาม

อีกหนึ่งรูปแบบมีการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างพระคเณศกับเทวสตรีแห่งศิลปะ และวัฒนธรรม พระสรัสวตี หรือเทวสตรีแห่งโชคลาภ และความเจริญรุ่งเรือง พระลักษมี อีกความเชื่อหนึ่งซึ่งพบมากใน ภูมิภาคเบงกอล

เชื่อว่าพระคเณศทรงสัมพันธ์กับต้นกล้วย กาลาโบ (Kala Bou) ใน ศิวะปุราณะ ระบุว่าพระคเณศมีพระโอรสสองพระองค์ คือ เกษมะ (Kşema – ความเจริญรุ่งเรือง) และ ลาภะ (Lābha – กำไร)

นิยายเรื่องเดียวกันในอินเดียเหนือ ระบุว่ามีพระโอรสสองพระองค์คือ ศุภะ (Śubha – ฤกษ์อันเป็นมงคล) และลาภะ ภาพยนต์ภาษาฮินดู เรื่อง ชัย ศันโตษี มา (Jai Santoshi Maa) เมื่อปี 1975 ระบุว่า พระพิฆเนศทรงวิวาห์ กับพระฤทธิและพระสิทธิ

มีพระธิดานามว่า สันโตษีมาตา (Santoshi Mata) เทวสตรีแห่งความพึงพอใจ อย่างไรก็ตามนี้ไม่ได้มีที่มาจากปุราณะ แต่ อนิตา ไรนะ ฐาปัน (Anita Raina Thapan) กับ ลอว์เรนซ์ โคเฮน (Lawrence Cohen) อ้างว่าลัทธิสันโตษีมาตา เป็นหลักฐานการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ของพระคเณศ ในฐานะของเทพเจ้าที่นิยมบูชา เจ้าแม่กวนอิม

พระคเณศกับบทบาท ผู้ขจัดอุปสรรค 

พระนาม พระพิฆเนศวร (Vighneshvara) หรือ วิฆนราช (Vighnaraja, ภาษามราฐี – วิฆนหรรตา (Vighnaharta)) แปลว่า “จ้าวแห่งอุปสรรค” (the Lord of Obstacles) ทั้งในมุมทางโลกและทางวิญญาณ 

พระองค์เป็นที่บูชาทั่วไปในฐาน ผู้ปัดเป่าอุปสรรค แม้เดิมว่าพระองค์ยังเป็นผู้สร้างอุปสรรคต่างๆ ให้เกิดขึ้นในเส้นทางของผู้ ที่จำต้องทดสอบ ดังนั้นพระองค์จึงเป็นที่เคารพบูชา เป็นเริ่มก่อนการเริ่มสิ่งใหม่

พอล คอร์ทไรธ์ (Paul Courtright) ระบุว่า “ธรรมะ” และเหตุผลสำคัญของพระคเณศ คือการสร้างและกำจัดอุปสรรค นักวิชาการ กริษัน (Krishan) ชี้ให้เห็นว่าบางพระนามของพระคเณศ สะท้อนบทบาทอันหลากหลาย ของพระองค์ที่มีพัฒนาการตามเวลา

ธวลิกร (Dhavalikar) ยกตัวอย่างการขึ้นเป็นเทพเจ้า อย่างรวดเร็วของพระคเณศในบรรดาเทพเจ้าฮินดู การเกิดขึ้นของคณปัตยะ (Ganapatyas) และการเปลี่ยนจากการเน้นพระนามว่า วิฆนกรรตา (vighnakartā, ผู้สร้างอุปสรรค) เป็น วิฆนหรรตา (vighnahartā, ผู้กำจัดอุปสรรค) อย่างไรก็ตามทั้งสองบทบาทยังสำคัญ ต่อพระลักษณะของพระองค์

พุทธิ (ปัญญา)

พระคเณศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นจ้าว แห่งตัวอักษรและการศึกษา ในภาษาสันสกฤต คำว่า พุทธิ (buddhi) เป็นนามที่มีความหมายหลากหลาย ทั้งปัญญา (intelligence), ภูมิปัญญา (wisdom), ผู้ทรงปัญญา (intellect) 

มโนทัศน์พุทธินั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์ อย่างมากกับบุคลิกภาพของพระคเณศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปุราณะ ซึ่งนิยายต่างๆเน้นย้ำ ความฉลาดเฉลียวและความรัก ในความรู้ของพระองค์ พระนามหนึ่งของพระองค์ที่ปรากฏใน คเณศปุราณะ และใน 21 พระนามของ คเณศสหัสรนาม (Ganesha Sahasranama) คือ พุทธิปรียา (Buddhipriya, ผู้รักในพุทธิ) 

คำว่า “ปรียา” (priya) แปลว่า ความรัก, ความหลง (fondness) และในบริบทการสมรสยังหมายถึง “คนรัก” หรือ “สวามี” ก็ได้ ดังนั้นพระนามนี้อาจหมายถึง “ผู้รักในความรู้” หรือ “คู่ครองของพระนางพุทธิ” ก็ได้

พระคเณศในบทบาท ปฐมจักร

กุนทลินีโยคะ (Kundalini yoga) ระบุว่าพระคเณศทรงอาศัยในจักรแรก ที่เรียกว่า มูลาธาระ (mūlādhāra) มูลาธาระจักรเป็นหลักสำคัญ ของการสำแดงหรือการขยายออก ของกองทัพสวรรค์ยุคแรกเริ่ม

ในคณปติอรรถวศีรษะได้ระบุไว้เช่นกัน ในฉบับแปลของ คอร์ทไรธ์ (Courtright) แปลข้อความนี้ว่า “พระองค์ทรงอาศัยอย่างต่อเนื่อง ภายในช่องท้องศักดิ์สิทธิ์ (sacral plexus) อันเป็นฐานของหลักสำคัญ [มูลาธารจักร]” 

ดังนั้น พระคเณศจึงทรงมีพระวิมาน ภายในมูลาธารของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงในมูลาธาระ พระคเณศทรงถือ รองรับ และนำพาจักรทั้งปวง ดังนั้นจึงเป็นการ “ควบคุมพลังทั้งปวง ที่มีผลต่อวงจักรของชีวิต”