ความเชื่อ จิตใจมนุษย์ในเรื่องของความศรัทธา ธรรมชาติรังสรรค์ ที่พึ่งของการดำรงชีวิต
ความเชื่อ หลายๆคนคงมีความเชื่อ ที่หลากหลายจากที่เราได้ยินมา หรือบางทีอาจจะเป็นเรื่องที่สืบทอดกันมาเป็นรุ่นสู่รุ่น ซึ่งสำหรับความเชื่อ ที่จะเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ สำหรับมนุษย์ ละก็ถือว่าได้เป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งด้วยนะ ซึ่ในการดำรงชีวติของเรา ที่ผ่านมาตั้งแต่ในอดีตสมัยโบราณเลยก็ว่าได้ ซึ่งสมัยก่อนเองความเจริญทางด้านวิชาการน้อย จึงทำให้ความเชื่อตรงนี้ เกิดขึ้นมาได้นั่นเอง และก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่มนุษย์จะมี ความเชื่อว่าจะเป็นแรงบันดาลใจ ที่ได้มีการเกิดขึ้นจากอำนาจของเทวดา พระเจ้า หรือภูตผีปีศาจ ดังนั้นเมื่อเกิดปรากฏการณ์ต่างๆขึ้น อย่างเช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อุทกภัย และวาตภัย ซึ่งมันก็จะเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิต หรือความเป็นอยู่ของมนุษย์เองด้วย และโดยบางที เราก็อาจจะคิดว่ามันค่อนข้างที่จะยาก หากเราจะทำการป้องกัน หรือว่าแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เพราะบางอย่างเอง หากได้เป็นเหตุการณ์ที่อำนวยประโยชน์ แต่บางเหตุการณ์เอง มันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เรา จึงมีความพยายามที่จะคิดหาวิธีการ ที่จะก่อให้เกิดผลในทางที่ดี และก็จะเกิดความสุขให้กับตนเอง เพื่อกระทำต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติเหล่านั้น จึงทำให้เกิดเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรม หรือศาสนาเกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่เรายังมีความเชื่อ และเกิดความศรัทธาตอนนี้
ความเชื่อ หมายความว่าอะไร ?
หากเราจะกล่าวถึง คามเชื่อ ที่ก็มีความหลากหลาย พร้อมทั้งยังมีความหมายต่างๆมากมาย ที่ทางนักวิชาการ และผู้รู้ได้ให้ความหมาย หรือคำนิยามของความเชื่อ ว่ามันคืออะไร โดยในแง่มุมต่างๆที่จะให้ความหมายในเรื่องของความเชื่อ ว่าเป็นอย่างไร เรามาลองดูกัน
ความเชื่อ คือ การที่เราจะทำการยอมรับว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั่น มีความจริง หรือได้เป็นสิ่งที่เราไว้ใจ เชื่อใจ มั่นใจความจริง หรือว่าในเรื่องของความไว้วางใจ ที่ได้เป็นรูปของความเชื่อนั้น มันไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผล หรือหลักวิทยาศาสตร์ใดๆเลย
สำหรับคนที่เชื่อในฤกษ์ยามก็จะถือว่า วันเวลาในการโคจรของดวงดาว ที่จะก่อให้เกิดผลต่อตัวมนุษย์ คนที่เชื่อเครื่องรางของขลังเอง ก็จะมีความยึดมั่นว่า เครื่องรางของขลังจะให้คุณให้โทษแก่ตนได้จริง อย่างตัวอย่างของความเชื่อต่างๆก็จะมีหลายๆอย่าง
ไม่ว่าจะเป็น ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ โชคลาง ของขลัง ผีสาง เทวดา นางไม้ ความเชื่ออำนาจลึกลับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เหล่านี้เป็นต้น โดยสำหรับ ธวัช ปุณโณทก ที่ได้มัการกล่าวถึงความเชื่อเอาไว้ว่า ในเรื่องของ ความเชื่อเอง ก็คือการยอมรับอันเกิดอยู่ในจิตสำนึกของมนุษย์ต่อพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ
ซึ่งมันก็จะเป็นผลดี หรือว่าเป็นผลร้ายต่อมนุษย์นั้นๆ หรือว่าสังคมมนุษย์นั้นๆ เพราะแม้ว่าจะมีพลังอำนาจเหนือธรรมชาติเหล่านั้น ก็ยังไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง แต่มนุษย์ในสังคมเอง ที่ให้การยอมรับและให้ความเคารพเกรงกลัวสิ่งเหล่านี้
เราเลยเรียกกันว่าความเชื่อ เพราะฉะนั้นความเชื่อจึงจะต้องมี ขอบเขตกว้างขวางมากๆ ซึ่งไม่เพียงแต่จะหมายถึงความเชื่อในดวงวิญญาณทั้งหลาย (belief in spiritual beings) ภูตผี คาถาอาคม โชคลาง ไสยเวทต่างๆ ยังมีการรวมไปถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่มนุษย์ยอมรับนับถือ เช่น ต้นไม้ (ต้นโพธิ์ ต้นไทร) ป่าเขา เป็นต้น
ซึ่งความเชื่อ ก็จะหมายถึง เห็นตามด้วย มั่นใจ ไว้ใจ นับถือ หากในลักษณะคล้ายกันนี้ มานิต มานิตเจริญ โดยกล่าวว่าความเชื่อหมายถึง เห็นจริงด้วย วางใจ ไว้ใจ มั่นใจ และนับถือ นั่นเอง โดยสำหรับพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ – ไทย ที่ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับความเชื่อไว้ 2 นัยด้วยกันคือ
1. การให้ความยอมรับข้อเสนอข้อใดข้อหนึ่ง ที่เป็นความจริง โดยในการยอมรับเช่นนี้โดยสารัตถะสำคัญแล้วเป็นการรับเชิงพุทธิปัญญา เพราะแม้ว่าจะมีอารมณ์สะเทือนใจเข้ามาประกอบร่วมด้วย ซึ่งในความเชื่อก็จะก่อให้เกิดภาวะทางจิตขึ้น ในบุคคลซึ่งอาจจะเป็นพื้นฐาน
สำหรับการกระทำที่ทำโดยความสมัครใจของ บุคคลที่มีความความเชื่อ ก็อาจจะมีพื้นฐานจากหลักฐานข้อเท็จจริง ที่ทั้งเชื่อได้ หรือว่ามีพื้นฐานจากความเดียดฉันท์จากการนึกรู้เอาเอง หรือจะมาจากลักษณะที่ทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวก็ได้
เพราะฉะนั้น สำหรับความเชื่อก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความจริงเชิงวัตถุวิสัย แถมในเนื้อหาความเชื่อแปลกวิตถารก็ได้ คนเราอาจจะกระทำการอย่างแข็งขันจริงจัง หรือบางทีก็ทำอย่างบ้าคลั่งด้วย ความเชื่อที่ผิดได้เท่าๆ กับที่ทำด้วยความเชื่อที่ถูกต้อง ซึ่งอย่างไรก็ดี การกระทำที่ใช้สติปัญญาใดๆก็ตาม ย่อมต้องอาศัยความเชื่ออยู่ด้วยเสมอ แต่สติปัญญาเองนั้น ก็อาจใช้มาทดสอบความเชื่อ และได้มีการตรวจดูความสมบูรณ์ถูกต้อง พื้นฐานความเชื่อนั้นได้
2. การยอมรับข้อเสนอข้อใดข้อหนึ่งว่า เป็นมันจะเป็นจริงโดยที่ยังไม่ได้ หรือพิสูจน์ได้โดยวิธีการของวิทยาศาสตร์ โดยจากคำจำกัดความต่างๆ ข้างต้น ก็พอที่จะทำการสรุปความหมายของความเชื่อไว้ว่า “ความเชื่อ” หมายถึง การยอมรับต่างๆ ว่าเป็นจริง มีอยู่จริง และจะมีอำนาจที่จะบันดาลให้เกิดผลดีห รือผลร้ายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงด้วยเหตุผล แต่เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มชนหรือสังคมนั่นเอง
ประเภทของความเชื่อ
สำหรับประเภทของความเชื่อ เราก็จะมีการจัดแบ่งประเภทกันอยู่ 4ประเภท ได้แก่
1. ความเชื่อตามที่เป็นอยู่ สำหรับการเชื่อในสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่ามัน จริง-เท็จ ถูก-ผิด อย่างเช่ความเชื่อว่าโลกกลม พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เป็นต้น
2. ความเชื่อในเชิงประเมินค่า ก็จะเป็นความเชื่อที่มีการแฝงความรู้สึกเข้าไป รวมไปทั้งมีการประเมินในขณะเดียวกัน อย่างเช่น เราเชื่อว่าบุหรี่เป็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นต้น
3. ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำและควรห้าม สำหรับเป็นความเชื่อว่าสิ่งใด ที่จะเป็นที่พึงปรารถนา หรือว่าไม่พึงปรารถนา เช่น เชื่อว่าเด็กควรเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ เป็นต้น
4. ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุ สำหรับความเชื่อที่อยู่ในสภาพที่ก่อให้ เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามมา อย่างเช่น เชื่อว่าการตัดไม้ทำลายป่า จะทำให้เกิดความแห้งแล้ง และการสร้างเขื่อนก็ถือว่าเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เป็นต้น
ความเชื่อในรูปแบบของสังคมไทย
สำหรับประเภทของความเชื่อ ที่เรามีการนำข้อมูลมาจากรูปแบบของสังคมไทย และจากการศึกษาพบว่า สังคมไทยเอง ก็ได้มีความเชื่อที่หลากหลาย หากเราจะแบ่งประเภท อาจแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. ความเชื่อเกี่ยวกับลัทธิและศาสนา อย่างเช่น เราจะเชื่อในเรื่องของการทำสมาธิเพื่อรักษาโรค มีการเชื่อในพลังอำนาจของพระเจ้า เชื่อในเรื่องนรก-สวรรค์ เชื่อในเรื่องบาป-บุญ ด่าพ่อแม่ชาติหน้าปากจะเท่ารูเข็ม นั่นเอง
2. ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ผีสางเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่างเช่น จะมีการเชื่อในเรื่องของคาถาอาคม การทำเสน่ห์ การเสกตะปูเข้าท้อง การสะเดาะเคราะห์ มีความเชื่อในเรื่องผีบ้านผีเรือน ผีปอบ ผีแม่หม้าย หรือจะ เชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลัง บั้นไฟพญานาค หรือสิ่งที่มีปาฏิหาริย์ต่างๆ
3. ความเชื่อเกี่ยวกับโหราศาสตร์ โหงวเฮ้ง และฮวงจุ้ย อย่างเช่น มีความเชื่อในเรื่องของการดูดวงชะตา ดูดวงไพ่ ดูลายมือ เชื่อในเรื่องบุคลิกลักษณะสัมพันธ์กับชีวิต หรือว่าสิ่งแวดล้อมที่ทำงาน และที่อยู่อาศัยสัมพันธ์การดำเนินชีวิต
4. ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางและฤกษ์ยาม อย่างเช่น เชื่อในเรื่องของการเราจะไม่ตัดผมในวันพุธ การไม่เดินทางไกลหากจิ้งจกทัก หรือ การหาฤกษ์ยามสำหรับการทำงานมงคลต่างๆทั้ง งานแต่ง งานบุญ งานบวช
5. ความเชื่อเกี่ยวกับความฝันและคำทำนายฝัน อย่างเช่น เชื่อว่าถ้าฝันว่าเห็นงู จะได้เนื้อคู่ ถ้าฝันว่าฟันหัก ญาติผู้ใหญ่จะเสียชีวิต ฝันเห็นคนตาย จะเป็นการต่ออายุ ฝันว่า ถูกสุนัขหรือหมากัด ก็จะทำนายฝันว่าจะเคราะห์ร้ายหรือได้รับเคราะห์จากศัตรู หรือจากคนใกล้ชิด นั่นเอง
6. ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ เช่น วิธีจัดตั้งศาลพระภูมิ การแห่นางแมวขอฝน การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบุญต่างๆ
7. ความเชื่อที่เกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ไม่ควรทำ อย่างเช่น เวลานอนเราห้ามนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก การเอาไม้กวาดตีกันชีวิตจะไม่เจริญ หากกินข้าวเกลี้ยงจานจะได้แฟนสวยหรือหล่อ ห้ามปลูกต้นลั่นทม ระกำ ไว้ในบ้าน ให้ปลูกต้นมะยม มีคนนิยมชมชอบ ปลูกขนุน จะทำให้มีผู้สนับสนุนค้ำจุน นั่นเอง
ขอบคุณผู้สนับสนุน : คลิ๊ก